วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

Pāḷi bhāsā




คำอธิบาย และเอกสารประกอบของ อ.สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ.๙ อธิบายความว่า "ปาฬิ" ที่หมายถึงพระไตรปิฎก เป็นรูปการเขียนคำศัพท์ในภาษาไทยที่ถูกต้อง ตามรูปศัพท์ที่พบในพระไตรปิฎก อักษรขอม ใบลาน และในการพิมพ์พระไตรปิฎกอักษรสยาม ในสมัย ร.๕ และยังรวมถึงการเรียนการสอนของประเทศพม่าด้วยก็ใช้คำว่า "ปาฬิ"

อ.สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ.๙ ท่านประธาน​กองทุน​สน​ทนาธัมม์​นำ​สุข ม.ล. มณีรัตน์ บุนนาค ​ใน​พระ​สังฆ​รา​ชูป​ถัมภ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก​ ​ตั้งแต่​ ​พ​.​ศ​.​ ​2543​-2553 ท่าน​เป็น​ผู้​วาง​นโยบาย​การ​ตรวจ​ทาน​ และ​การ​จัด​พิมพ์​พระ​ไตรปิฎก​อักษร​โรมัน​ ​ฉบับ​มหา​สังคายนา​สากล​นานาชาติ​ ​พ​.​ศ​.​ ​2500​ ​พิมพ์​เป็น​อักษร​โรมัน​ ​โดย​กองทุน​สน​ทนาธัมม์​นำ​สุขฯ​ ​ใน​พระ​สังฆ​รา​ชูป​ถัมภ์ฯ​ ​ ใน​ปี​ ​พ​.​ศ​.​ ​2548​ ท่านเป็นหนึ่งใน​คณะผู้​กราบทูล​อัญเชิญ​สมเด็จ​พระเจ้า​พี่​นาง​เธอ​ ​เจ้า​ฟ้า​กัลยาณิ​วัฒนา​ ​กรม​หลวง​นราธิวาส​รา​ชน​ค​ริ​นท์​ ​เสด็จ​จาริก​ไป​พระราชทาน​พระ​ไตรปิฎก​สากล​อักษร​โรมัน​แก่ประธานาธิบดี​แห่ง​สาธารณรัฐ​สังคมนิยม​ประ​ชาธิป​ไตย​แห่ง​ศรี​ลังกา​เป็น​ปฐมฤกษ์​ ​เมื่อ​วัน​ที่​ ​6​ ​มีนาคม​ ​
พ​.​ศ​.​ 2548​ ​

อาจารย์​สิ​ริฯ​ ​ได้​เป็นต้น​แบบ​ใน​การ​บันทึก​เสียง​ปาฬิ ใน​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​อักษร​โรมัน​ โดย​ดำเนิน​ตาม​การ​ศึกษา​วิธี​สวด​สังวัธยาย​ปาฬิ​ที่​ได้​รับ​สืบทอด​จาก​สมเด็จ​ พระ​วัน​รัต​ ​(​เฮง ​เขม​จารี)​ ​และ​พระ​พิมล​ธรรม​
​(​ช้อย​ ​ฐาน​ทตฺต​เถร)​ ​ณ​ ​วัดมหาธาตุ​ยุว​รา​ชรังสฤดิ์​ ​ซึ่ง​ทั้ง​สอง​ท่าน​ได้​รับ​การ​สืบทอด​มา​จาก​สมเด็จ​พระ​วัน​รัต​ ​(​ฑิต​)​ ​ซึ่ง​เป็น​พระ​ราชา​คณะ​มหา​นิกาย​องค์​เดียว​ใน​การ​ตรวจ​ชำระ​พระ​ไตร​ปิฎกปาฬิ อักษร​สยาม ใน​สมัย​รัชกาล​ที่​ ​5​ ​นอกจาก​นี้​อาจารย์​สิริฯ ​​ยังได้​เคย​ศึกษา​กับ​อาจารย์​ปลั่ง​ ​บุญศิริ​ ​(​ป​.​ธ​.​9​)​ ​อาจารย์​วิเชียร ​บำรุง​ผล​ (​ป​.ธ.9​)​ ​และ​อาจารย์​จำลอง​ ​อิน​ท​วัฒน์​ ​(​ป​.​ธ​.​3​)​ ​ อาจารย์​ สิ​ริฯ​ ​สอบผ่าน​เปรียญธรรม​ ​9​ ​ประโยค​เป็น​คน​แรก​ใน​รัชกาลที่ 9 และเป็น​ผู้​เชี่ยวชาญ​ในด้านภาษาปาฬิ สามารถ​อ่าน​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ ​อักษร​โรมัน​ ​อักษร​ขอม​ ​และ​อักษรพม่า​ได้​เป็น​อย่าง​ดี​ ในปี พ.ศ. 2550 อาจารย์สิริฯ ​ได้​รับ​ปริญญา​ดุษฎี​บัณฑิต​กิตติมศักดิ์์ทาง​ปาฬิ​ ​เป็น​คน​แรก​ ​แห่ง​มหาวิทยาลัย​มหา​จุฬา​ลง​กรณ​ราช​วิทยาลัย




 อาจารย์​สิ​ริ เพ็ชรไชย  ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ณ โรงพยาบาลศิริราช 
งานพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดสระเกศ ในวันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 16.30 น.

ในการนี้ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา 


โปรดให้ พันเอก สมนึก สีสังข์ เชิญดอกไม้จันทน์มาประทานด้วย

Master Siri Petchai, eminent Tipiṭaka scholar passed away on January 1, 2012. 

Royal sponsored Cremation rite will be at Wat Saket in Bangkok.

Credit : กองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค;
โครงการพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน;
มูลนิธิพระไตรปิฎก;
http://www.flickr.com/photos/dhammasociety/

Pāḷi as the language medium in the Tipiṭaka

Great International Council Tipiṭaka Database, 
The first of its kind in the world, 
The propagation of the World Tipiṭaka Edition in the Roman Script
is simple and effective. 

 

Maniratana Bunnag & Dhamma Society Fund 

The M.L. Maniratana Bunnag Dhamma Society Fund under the Patronage His Holiness Somdet Phra Ñāṇasaṃvara the Supreme Patriarch of Thailand is a charitable organisation in the Buddhist Theravāda Tradition, founded in 1997 by Thanpuying M.L. Maniratana BUNNAG (1923-2000), Lady-in-Waiting to Her Majesty Queen Sirikit (1950-2000) and the Dhamma Society First Chairperson




กองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นองค์กรกุศล ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2540 โดยท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค (หม่อมหลวงมณีรัตน์ สนิทวงศ์, พ.ศ. 2493-2543) นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งในช่วงสุดท้ายของชีวิตได้มีโอกาสปฏิบัติธัมมะตามแนวมหาสติปัฏฐาน ต่อมาเมื่อได้ฟังการบรรยายพระอภิธัมม์ จึงมีจิตศรัทธาจัดการบรรยายธัมมะตามหลักพระไตรปิฎก ซึ่งได้จัดเป็นครั้งแรก เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540 โดยท่านผู้หญิงเป็นผู้ตั้งชื่อรายการว่า "สนทนาธรรมนำสุข" และต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "สนทนาธัมม์นำสุข" ซึ่งได้มีการจัดต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน.

กิจกรรมสำคัญของกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ คือการจัดพิมพ์พระไตรปิฎก ภาษาปาฬิ อักษรโรมัน ซึ่งได้ตรวจทานใหม่จากต้นฉบับการประชุมสังคายนานานาชาติ พ.ศ. 2500 การดำเนินงานได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2542 และจัดพิมพ์สำเร็จใน พ.ศ. 2548 โดยได้มอบเป็นพระไตรปิฎกสากลเป็นพระธัมมทานในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์ประธานกิตติมศักดิ์ เพื่อการศึกษาแก่สถาบันสำคัญในนานาประเทศ ตามโอกาสและความเหมาะสม 






พ.ศ. 2552 ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของโครงการพระไตรปิฎกสากล กองทุนฯ ได้ร่วมจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ชุดพิเศษ 40 เล่ม และ พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม : ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล ชุด 40 เล่ม เพื่อน้อมถวายแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์สังฆราชูปถัมภ์โครงการพระไตรปิฎกสากล พิธีบำเพ็ญกุศลได้จัดขึ้น ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สถาบันพระมหากษัตริย์พุทธมามกะ และในปีนี้ โครงการพระไตรปิฎกสากลได้จัดพิมพ์หนังสือ "ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง" ชุด 40 เล่ม มอบแก่วัดบวรนนิเวศวิหารในงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราช ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 96 ปี






ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง ภาษาปาฬิ อักษรโรมัน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ซึ่งได้ดำเนินงานตั้งแต่ พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน  ในพ.ศ. 2552 เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชันษา 96 ปี กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ผู้ดำเนินโครงการพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน ได้จัดพิมพ์ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง (Tipitaka Studies Reference)ภาษาปาฬิอักษรโรมัน ชุด 40 เล่ม ขึ้นเป็นพิเศษเพื่อมอบในงาน การประชุมวิชาการทางพระพุทธศาสนานานาชาติภาษาปาฬิ การประชุมครั้งนี้ถือเป็น "พุทธศาสนาในศตวรรษใหม่" เพราะภาษากลางของการประชุมจะอยู่ในภาษาบาลี (ปาฬิ) ภาษาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (แทนภาษาอังกฤษ) แสดงถึงความสำคัญของภาษาบาลี (ปาฬิ) เป็นการรักษาพระพุทธศาสนาเถรวาท สามารถแบ่งปันและเรียนรู้ การตีความและคำอธิบายของพระพุทธศาสนาเพื่อความเข้าใจที่กว้างขึ้น  การจัดประชุมนานาชาติครั้งนี้ ถือเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 (2009), วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ 

On this unprecedented auspicious occasion of the 96th birthday on the third day of October, 2009 the Executive Committee for the 96th Birthday Celebration of His Holiness Somdet Phra Nyanasamvara, Sangharaja of Kingdom of Thailand officially appointed by the Prime Minister of Thailand resolved to organize numerous activities as a part of celebration of this auspicious day. To name a few: nationwide religious ceremonies, biographical exhibitions, and international and national conferences in honour of His Holiness the Sangharaja.

On the part of international conference in honour, the main theme is ‘Buddhism in the new century.’ This conference will be an unprecedented Buddhist conference in Thailand because the lingua franca of the conference will be in Pali, the language of the Lord Buddha (instead of English!). This will not only show the importance of Pali language in preserving Theravada Buddhism, but it will serve as an international platform where Pali scholars can share and learn the interpretation and explanation of Buddhism for wider and right understanding.
 
The International Buddhist Conference, in Honour of His Holiness Somdet Phra Ñāṇasaṃvara, the Supreme Patriarch of the Kingdom of Thailand. 1 October B.E. 2552 (2009), Wat Bovornives Vihāra , Bangkok





World Tipiṭaka Project :
จดหมายเหตุดิจิทัลจากกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข 
ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ 
ผู้ดำเนินโครงการพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน
http://www.flickr.com/dhammasociety