วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พระไตรปิฎกปาฬิฉบับสังคายนาสากลนานาชาติ

พระไตรปิฎกปาฬิ ฉบับสังคายนาสากลนานาชาติ พ.ศ. 2500
พิมพ์อักษรโรมัน พ.ศ. 2548

จัดพิมพ์โดย กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ พ.ศ. 2548

เผยแผ่่ทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นพระธัมมทาน
ในโครงการเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล ในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์


Cover the World Tipiṭaka in Roman Scirpt


ข้อมูลเบื้องต้นจาก “พระไตรปิฎก : สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้”
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
และ
แบ่งเล่มตามคัมภีร์พระไตรปิฎก "ปาฬิภาสา" เป็นชุด 40 เล่ม
โดย อาจารย์สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ.9

หมายเหตุ : จากหนังสือ "พระไตรปิฎกสากล : อารยธรรมทางปัญญา...นำสันติสุขและความมั่นคงสู่โลก, พ.ศ. 2550" จัดพิมพ์โดย โครงการสมทบกองทุนเผยแผ่พระไตรปิฎกสากลในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มูลนิธิร่วมจิตน้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์. ปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2552.

ในการจัดพิมพ์ใหม่ได้มีการปรับปรุงอักขรวิธีในภาษาไทยตามศัพท์ปาฬิในพระไตรปิฎกปาฬิ ฉบับสังคายนาสากลนานาชาติ พ.ศ. 2500 เช่นเขียนว่า ธัมมะ หรือ ธัมม์ (Dhamma) แทน ธรรม; วัคค์ หรือ วัคคะ (vagga) แทน วรรค; สุตตะ (sutta) แทน สูตร ตามภาษาพระธัมม์ หรือ ปาฬิภาสา ในพระพุทธศาสนา  เนื่องจากคำว่า วรรค และ สูตร ฯลฯ เป็นคำที่มีรากศัพท์์จากภาษาสันสกฤต ส่วนคำอื่นๆ ซึ่งทีี่มิใช่มีกำเนิดจากแนวความคิดพระพุทธศาสนาในพระไตรปิฎก เช่น อารยธรรม ก็คงใช้ ธรรม ตามความนิยมเดิม

โปรดสังเกตุ  ชื่อคัมภีร์พระไตรปิฎกสากล --ปาฬิภสาสา อักษรโรมัน-- เขียนตามต้นฉบับการสังคายนานานาชาติ พ.ศ. 2500 โดยมีคำว่า "ปาฬิ" ต่อท้ายทุกคัมภีร์ แสดงว่าเป็นพระไตรปิฎกปาฬิภาสา เช่น Mūlapaṇṇāsapāḷi หรือ มูลปัณณาสปาฬิ  (ซึ่งต่างจากการตั้งชื่อคัมภีร์์ของพระไตรปิฎกปาฬิ ฉบับอักษรไทย ที่เรียกกันว่า มูลปัณณาสก์)

ดู รายละเอียด เรื่อง "เสียงปาฬิ : คำศัพท์สำคัญในวัฒนธรรมพระไตรปิฎกปาฬิ" โดย ศาสตารจารย์กิตติคุณ ดร. วิจินตน์ ภาณุพงศ์, วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ 34 ฉบับที่ 4, 2552.

การเขียน "คำอ่านปาฬิภาสา" ด้วย "สัททอักษรไทยปาฬิ" สำหรับชื่อต่างๆ ในเว็บนี้ ได้นำเสนอต่อราชบัณฑิตยสถาน ในปี พ.ศ. 2553 และจะจัดพิมพ์ในวารสารราชบัณฑิตยสถา

World Tipiṭaka : Vinayapiṭaka

พระวินัยปิฎก


(ประมวล พุทธพจน์หมวดพระอภิธัมม์ คือ หลักธัมม์และคำอธิบายที่เป็นเนื้อหาวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น 5 คัมภีร์
"เรียกย่อหรือหัวใจว่า: ปา. (ปาราชิกะ); ปา. (ปาจิตติยะ); มะ. (มหาวัคค์); จู. (จูฬวัคค์); ปะ. (ปริวาร) รวมพระวินัยปิฎก 5 เล่ม)
หรือที่แบ่งเป็น 5 ปาฬิ จากจำนวนทั้งสิ้น 86 ปาฬิ ดังที่ได้จัดพิมพ์ตามพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 
  • เล่ม 1 : ลำดับเล่มที่ 1/40 จากพระไตรปิฎกสากล ชุด 40 เล่ม;
  • Pārājikapāḷi : ปาฬิภาสา อักษรโรมัน;
  • [ปาราชิกะปาฬิ] : ชื่อปาฬิภาสา เขียนด้วย [สัททอักษรสยามปาฬิ]  
  • [ปาราชิกะปาฬิ] การเขียน "คำอ่านปาฬิภาสา" ด้วย "สัททอักษรไทยปาฬิ" (Thai Phonetic Alphabet Pāḷi)                                                                                    ตามแนว "สัททอักษรสยามปาฬิ" ในพระไตรปิฎก จปร. พ.ศ. 2436 ซึ่งได้มีการเสนอต่อราชบัณฑิตยสถาน ในปี พ.ศ. 2553

 เล่ม 1Pārājikapāḷi [ปาราชิกะปาฬิ] [ปาราชิกะปาฬิ]
 เล่ม 2Pācittiyapāḷi [ปาจิตตียะปาฬิ] [ปาจิตตียะปาฬิ]
 เล่ม 3Mahāvaggapāḷi[มหาวัคคะปาฬิ][มหาวัคคะปาฬิ]
 เล่ม 4Cūḷavaggapāḷi[จูฬะวัคคะปาฬิ]  [จูฬะวัคคะปาฬิ]
 เล่ม 5Parivārapāḷi [ปริวาระปาฬิ][ปริวาระปาฬิ]

World Tipiṭaka : Abhidhammapiṭaka

พระอภิธัมมปิฎก

(ประมวล พุทธพจน์หมวดพระอภิธัมม์ คือ หลักธัมม์และคำอธิบายที่เป็นเนื้อหาวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น 7 คัมภีร์
"เรียกย่อหรือหัวใจว่า: สํ. (สังคณี); วิ (วิภังค์); ธา. (ธาตุกถา); ปุ. (ปุคคลบัญญัติ); ก. (กถาวัตถุ); ย. (ยมก); ป. (ปัฏฐาน)" รวมพระอภิธัมมปิฎก 12 เล่ม)
หรือที่แบ่งเป็น 40 ปาฬิ จากจำนวนทั้งสิ้น 86 ปาฬิ ดังที่ได้จัดพิมพ์ตามพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 
  • เล่ม 29 : ลำดับเล่มที่ 29/40 จากพระไตรปิฎกสากล ชุด 40 เล่ม;
  • Dhammasaṅgaṇīpāḷi   ปาฬิภาสา อักษรโรมัน;
  • [ธัมมะสังคะณีปาฬิ] : ชื่อปาฬิภาสา เขียนด้วย [สัททอักษรสยามปาฬิ]  (Siam Phonetic Alphabet Pāḷi) 
  • [ธัมมะสังคะณีปาฬิ] การเขียน "คำอ่านปาฬิภาสา" ด้วย "สัททอักษรไทยปาฬิ" (Thai Phonetic Alphabet Pāḷi)                               \
    ตามแนว "สัททอักษรสยามปาฬิ" ในพระไตรปิฎก จปร. พ.ศ. 2436 ซึ่งได้มีการเสนอต่อราชบัณฑิตยสถาน ในปี พ.ศ. 2553
  เล่ม 29Dhammasaṅgaṇīpāḷi[ธัมมะสังคะณีปาฬิ][ธัมมะสังคะณีปาฬิ]
  เล่ม 30Vibhaṅgapāḷi[วิภังคะปาฬิ]   [วิภังคะปาฬิ]
 เล่ม 31Dhātukathāpāḷi[ธาตุกะถาปาฬิ]  [ธาตุกะถาปาฬิ]
 Puggalapaññatti[ปุคคะละปัญญัตติปาฬิ][ปุคคะละปัญญัตติปาฬิ]
 เล่ม 32Kathāvatthupāḷi[กถาวัตถุปาฬิ] [กถาวัตถุปาฬิ]





 เล่ม 33Yamakapāḷi[ยะมะกะปาฬิ] 1[ยะมะกะปาฬิ 1]
 เล่ม 34Yamakapāḷi[ยะมะกะปาฬิ] 2[ยะมะกะปาฬิ 2]
 เล่ม 35Yamakapāḷi[ยะมะกะปาฬิ] 3[ยะมะกะปาฬิ 3]




 เล่ม 36Paṭṭhānapāḷi [ปัฏฐานะปาฬิ] 1[ปัฏฐานะปาฬิ 1]
 เล่ม 37Paṭṭhānapāli [ปัฏฐานะปาฬิ] 2[ปัฏฐานะปาฬิ 2]
 เล่ม 38Paṭṭhānapāli [ปัฏฐานะปาฬิ] 3[ปัฏฐานะปาฬิ 3]
 เล่ม 39Paṭṭhānapāli [ปัฏฐานะปาฬิ] 4[ปัฏฐานะปาฬิ 4]
 เล่ม 40Paṭṭhānapāli [ปัฏฐานะปาฬิ] 5 [ปัฏฐานะปาฬิ 5]



 

World Tipiṭaka : Suttantapiṭaka

พระสุตตันตปิฎก

(ประมวล พุทธพจน์หมวดธัมมะต่างๆ หรือ สุตตะ (sutta) คือ พระธัมมเทศนา ได้แก่คำอธิบายธัมมะต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนในโอกาสต่างๆ ตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น 5 นิกาย
"เรียกย่อหรือหัวใจว่า : ที. (ทีฆนิกาย); ม. (มัฌิมนิกาย); สํ. (สังยุตตนิกาย); อํ. (อังคุตตรนิกาย); ขุ. (ขุททกนิกาย)" รวมพระสุตตันตปิฎก 23 เล่ม)
หรือที่แบ่งเป็น 43 ปาฬิ จากจำนวนทั้งสิ้น 86 ปาฬิ ดังที่ได้จัดพิมพ์ตามพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 
  • เล่ม 6 : ลำดับเล่มที่ 6/40 จากพระไตรปิฎกสากล ชุด 40 เล่ม;
  • Sīlakkhandhavaggapāḷi   ปาฬิภาสา อักษรโรมัน;
  • [สีลักขันธะวัคคะปาฬิ] : ชื่อปาฬิภาสา เขียนด้วย [สัททอักษรสยามปาฬิ] (Siam Phonetic Alphabet Pāḷi)  
  • [สีลักขันธะวัคคะปาฬิ] การเขียน "คำอ่านปาฬิภาสา" ด้วย [สัททอักษรไทยปาฬิ] (Thai Phonetic Alphabet Pāḷi)
    ตามแนว "สัททอักษรสยามปาฬิ" ในพระไตรปิฎก จปร. พ.ศ. 2436 ซึ่งได้มีการเสนอต่อราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2553

1. ทีฆนิกาย (3 เล่ม)

 เล่ม 6Sīlakkhanavaggapāḷi [สีลักขันธะวัคคะปาฬิ][สีลักขันธะวัคคะปาฬิ]
 เล่ม 7 Mahāvaggapāḷi [มหาวัคคะปาฬิ][มหาวัคคะปาฬิ]
 เล่ม 8Pāthikavaggapāḷi [ปาถิกะวัคคะปาฬิ]   [ปาถิกะวัคคะปาฬิ]

2. มัชฌิมนิกาย (3 เล่ม)

 เล่ม 9Mūlapaṇṇāsapāḷi[มูละปัณณาสะปาฬิ] [มูละปัณณาสะปาฬิ]
 เล่ม 10Majjhimapaṇṇāsapāḷi [มัชฌิมะปัณณาสะปาฬิ][มัชฌิมะปัณณาสะปาฬิ]
 เล่ม 11Uparipaṇṇāsapāḷi [อุปะริปัณณาสะปาฬิ] [อุปะริปัณณาสะปาฬิ]

 

3. สังยุตตนิกาย (3 เล่ม)

 เล่ม 12Sagāthāvaggasaṃyuttapāḷi  [สคาถาวัคคะสังยุตตะปาฬิ] 
[สคาถาวัคคะสังยุตตะปาฬิ]
Nidānavaggasaṃyuttapāḷi [นิทนะวัคคะสังยุตตะปาฬิ]  [นิดนะวัคคะสังยุตตะปาฬิ]
 เล่ม 13Khandhavaggasaṃyuttapāḷi [ขันธะวัคคะสังยุตตะปาฬิ] [ขันธะวัคคะสังยุตตะปาฬิ]  
Saḷāyatanavaggasaṃyuttapāḷi  [สฬายะตะนะวัคคสังยุตตะปาฬิ] [สฬายะตะนะวัคคสังยุตตะปาฬิ]
 เล่ม 14Mahāvaggasaṃyuttapāḷi    [มหาวัคคะสังยุตตะปาฬิ][มหาวัคคะสังยุตตะปาฬิ]

 

4. อังคุตตรนิกาย (3 เล่ม)

 เล่ม 15Ekakanipātapāḷi [เอกะกะนิปาตะปาฬิ][เอกะกะนิปาตะปาฬิ]
Dukanipātapāḷi  [ทุกะนิปาตะปาฬิ]  [ดุกะนิปาตะปาฬิ]
Tikanipātapāḷi  [ติกะนิปาตะปาฬิ]  [ติกะนิปาตะปาฬิ]
Catukkanipātapāḷi  [จตุกกะนิปาตะปาฬิ]    [จตุกกะนิปาตะปาฬิ]
  เล่ม 16Pañcakanipātapāḷi[ปัญจะกะนิปาตะปาฬิ] [ปัญจะกะนิปาตะปาฬิ]
Chakkanipātapāḷi   [ฉักกะนิปาตะปาฬิ] [ฉักกะนิปาตะปาฬิ]
Sattakanipātapāḷi   [สัตตะกะนิปาตะปาฬิ][สัตตะกะนิปาตะปาฬิ]
  เล่ม 17Aṭṭhakanipātapāḷi [อัฏฐะกะนิปาตะปาฬิ]  [อัฏฐะกะนิปาตะปาฬิ]
Navakanipātapāḷi 
[นะวะกะนิปาตะปาฬิ] [นะวะกะนิปาตะปาฬิ]
Dasakanipātapāḷi   [ทสะกะนิปาตะปาฬิ]      [ดะสะกะนิปาตะปาฬิ]
Ekādasakanipātapāḷi [เอกาทสะกะนิปาตะปาฬิ] [เอกาดะสะกะนิปาตะปาฬิ]

 

 5. ขุททกนิกาย (11 เล่ม)

  เล่ม 18Khuddakapāṭhapāḷi[ขุททะกะปาฐะปาฬิ] [ขุดดกะปาฐะปาฬิ]
Dhammapadapāḷi [ธัมมะปะทะปาฬิ][ธัมมะปะดะปาฬิ]
Udānapāḷi    [อุทานะปาฬิ]    [อุดานะปาฬิ]
Itivuttakapāḷi  [อิติวุตตะกะปาฬิ] [อิติวุตตะกะปาฬิ]
Suttanipātapāḷi [สุตตะนิปาตะปาฬิ][สุตตะนิปาตะปาฬิ]
  เล่ม 19Vimanavatthupāḷi  [วิมานะวัตถุปาฬิ][วิมานะวัตถุปาฬิ]
Petavatthupāḷi   [เปตะวัตถุปาฬิ]  [เปตะวัตถุปาฬิ]
Theragāthāpāḷi  [เถระคาถาปาฬิ]  [เถระคาถาปาฬิ]
Therīgāthāpāḷi 
[เถรีคาถาปาฬิ] [เถรีคาถาปาฬิ]


  เล่ม 20Therāpadānapāḷi[เถราปะทานะปาฬิ] [เถราปะดานะปาฬิ]
Therīapadānapāḷi [เถรีอะปะทานะปาฬิ][เถรีอะปะดานะปาฬิ]
  เล่ม 21Buddhavaṃsapāḷi  [พุทธะวังสะปาฬิ][บุทธะวังสะปาฬิ]
Cariyāpiṭakapāḷi [จริยาปิฎะกะปาฬิ]  [จริยาปิฎะกะปาฬิ]
 

 เล่ม 22Jātakapāḷi[ชาตะกะปาฬิ] [ชาตะกะปาฬิ]
 เล่ม 23Jātakapāḷi[ชาตะกะปาฬิ][ชาตะกะปาฬิ]
 

 เล่ม 24Mahāniddesapāḷi[มหานิทเทสะปาฬิ] [มหานิดเดสะปาฬิ]  
 เล่ม 25 Cūḷaniddesapāḷi [จูฬะนิทเทสะปาฬิ[จูฬะนิดเดสะปาฬิ]
 เล่ม 26Paṭisambhidāmaggapāḷi[ปฏิสัมภิทามัคคะปาฬิ][ปฏิสัมภิดามัคคะปาฬิ]

 

 เล่ม 27Nettipāḷi     [เนตติปาฬิ]      [เนตติปาฬิ]
Peṭakopadesapāḷi[เปฏะโกปะเทสะปาฬิ] [เปฏะโกปะเดสะปาฬิ]
 เล่ม 28Milindapañhapāḷi [มิลินทะปัญหะปาฬิ][มิลินดะปัญหะปาฬิ]
 

คลังพระไตรปิฏกนานาชาติ ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค




         คลังพระไตรปิฎกนานาชาติ  ได้รับการก่อตั้งขึ้นจากกองทุนสนทนาธรรมนำสุขในพระสังฆราชูปถัมภ์ ซึ่งท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค ได้มอบเป็นธรรมบรรณาการแก่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อจัดตั้งเป็นหอพระไตรปิฎกนานาชาติ  สำหรับรวบรวมพระธรรมวินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเพื่อเป็นการสืบทอดกุศลเจตนาในการสร้างศรัทธาและปัญญาในพระพุทธศาสนาเถรวาทของ  ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค อดีตผู้แทนนิสิตหญิงคณะอักษรศาสตร์ และอักษรศาสตรบัณฑิต จุฬาฯ ปี ๒๔๙๐ ซึ่งได้จัดตั้งกองทุนนี้ขึ้น โดยท่านผู้หญิงดำรงตำแหน่งเป็นประธานกองทุนสนทนาธรรมนำสุข ในพระสังฆราชูปถัมภ์

      ได้มอบพระคัมภีร์พระไตรปิฎกนานาชาติซึ่งเป็นสมบัติส่วนตัวของ พันตรีสุรธัช บุนนาค
บุตรของท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค เพื่อเป็นธรรมบรรณาการแก่คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค
เคยศึกษาและผูกพันตลอดมา
     หอพระไตรปิฎกนานาชาติ เป็นแหล่งรวบรวมพระคัมภีร์พระไตรปิฎกที่บันทึกด้วย
อักษรของชาติต่างๆพร้อมพระคัมภีร์บริวารครบชุดรวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า ๒,๐๐๐ เล่ม
ซึ่งประกอบด้วยพระคัมภีร์พระไตรปิฎก พร้อมด้วยพระคัมภีร์อรรถกถา ฎีกา
และพระคัมภีร์ปกรณ์พิเศษต่างๆ พระคัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรนานาชาติ
และภาคแปลภาษานานาชาติ พระคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานเก่าแก่ และพระคัมภีร์พระไตรปิฎก
ใบลานฉบับหายาก
     หอพระไตรปิฎกนานาชาตินี้ตั้งอยู่ ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ชั้น ๒ นับเป็นศูนย์กลาง
การค้นคว้าและวิจัยด้านพระไตรปิฎกที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งจะทำหน้าที่
เผยแผ่การศึกษาพระไตรปิฎกอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาเถรวาทที่สืบทอด
อยู่ในแผ่นดินไทย ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านมนุษยศาสตร์
โดยเฉพาะในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเถรวาท
ทั้งนี้ได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จทรงเป็นประธานในพิธีประดิษฐานคลังพระไตรปิฎก
นานาชาติ เมื่อวันพุธที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๓ ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์์
ซึ่งก่อนหน้าพิธีประดิษฐานคลังพระไตรปิฎกนานาชาติ
รองศาสตราจารย์ ดร.ธัชชัย สุมิตร อธิการบดีได้เป็นประธานในพิธีบำเพ็ญกุศล
สมโภชคลังพระไตรปิฎกนานาชาติ เนื่องจากในวันนี้เป็นวันตรงกับ
วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘

ปทานุกรมพระไตรปิฎกปาฬิ

ทีมายุโก โหตุ สังฆราชา
เนื่องในมงคลวโรกาสที่ใต้ฝ่าพระบาททรงเจริญพระชนมายุ ๙๖ พรรษา
วันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๒

ประชุมวิชาการพระพุทธศาสนานานาชาติเทิดพระเกียรติ
งานฉลองพระชันษา ๙๖ ปี
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

โดย
วัดบวรนิเวศวิหาร มหาวิทยาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาโลก
สมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาเถรวาทนานาชาติ

เมื่อวันที่ 1-3 ตุลาคม พ.ศ.2552 หากมีใครได้ไปร่วมกิจกรรมเทิดพระเกียรติ งานฉลองพระชันษา 96 ปี สมเด็จพระสังฆราช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร คงจะได้ชมปทานุกรมพระไตรปิฎกปาฬิ ซึ่งได้จัดแสดง ณ อาคาร สว ธรรมนิเวศ ชั้น 2 และ ชั้น 1 วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งในวันนั้นเป็นวันประชุมวิชาการพระพุทธศาสนานานาชาติเทิดพระเกียรติ เรื่อง พระพุทธศาสนาสู่ศตวรรษใหม่
ปทานุกรมหพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง ภาษาปาฬิ อักษรโรมัน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ซึ่งได้ดำเนินงานตั้งแต่ พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน อันเป็นการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาปาฬิ ฉบับสังคายนานานาชาติของโลก โดยสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นพระสังฆราชูปถัมภ์ และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นประธานการพระราชทานชุดปฐมฤกษ์ เมื่อ พ.ศ. 2548.



หลักการและเหตุผล

เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร) ทรงเป็นพระมหาเถระผู้มีบทบาทและผลงานสำคัญในทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย รวมไปถึงในต่างประเทศ ทั้งในด้านการศึกษา การเผยแผ่ และการปฏิบัติผลงานของพระองค์เป็นที่ปรากฏทั้งในรูปของศาสนกิจ พระนิพนธ์พระโอวาท บทอบรมกรรมฐาน และพระจริยาหวัตรดังเป็นที่ทราบกันทั่วไป นับว่าทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงมีบทบาทและผลงานที่โดดเด่นเป็นคุณประโยชน์แก่ พระพุทธศาสนา ประชาชน และชาติบ้านเมืองพระองค์หนึ่ง ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ควรที่มหาชนจะได้ศึกษาและสืบสานบทบาทและผลงานของพระองค์ในด้านต่าง ๆ ให้กว้างขวางและต่อเนื่องสืบไป

ฉะนั้น ในวโรกาสอันเป็นมงคลที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชันษา ๙๖ ปีวันที่๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ นี้เห็นสมควรจัดการประชุมเชิงวิชาการในระดับประเทศและนานาชาติ เรื่อง พระพุทธศาสนาในศตวรรษใหม่ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติเจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช และเป็นโอกาสให้นักวิชาการทางพระพุทธศาสนา ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ มาร่วมพบปะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องพระพุทธศาสนา ในหลากหลายมุมมอง ทั้งนี้ เพื่อประกาศพระเกียรติคุณเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ประมุขแห่งคณะสงฆ์ไทยให้เป็นที่ปรากฏแผ่ไพศาลและเป็นการส่งเสริมการ ศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งสร้างความสมัครสมานร่วมมือของชาวพุทธทุกหมู่เหล่า


วัตถุประสงค์

  • เพื่อเทิดพระเกียรติเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ให้เป็นที่ปรากฏแผ่ไพศาล
  • เพื่อแลกเปลี่ยนทรรศนะและประสบการณ์ทางพระพุทธศาสนาระหว่างนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ
  • เพื่อส่งเสริมการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ


การดำเนินงานจัดการประชุม โดยแบ่งเป็น ๓ ภาคคือ

  • ภาคการประชุมนานาชาติ ภาคภาษาบาลี เรื่อง พระพุทธศาสนาในศตวรรษใหม่ เป็นการบรรยายและอภิปรายเป็นภาษาบาลีโดยนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ
  • ภาคการประชุมนานาชาติภาคภาษาอังกฤษ เรื่อง พระพุทธศาสนาในศตวรรษใหม่เป็นการบรรยายและอภิปราย โดยนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ
  • ภาคการประชุมพระพุทธศาสนา ภาคภาษาไทย เรื่อง พระพุทธศาสนาในศตวรรษใหม่ การประชุมวิชาการทางพระพุทธศาสนาเทิดพระเกียรติโดยนักวิชาการทางพระพุทธ ศาสนาในประเทศไทย

เป้าหมายผู้ร่วมงาน

จำนวนประมาณ ๑,๐๐๐ รูป/คน
  • พระเปรียญธรรม ๙ ประโยค พระนักศึกษาสำนักเรียนบาลีต่าง ๆ ผู้สนใจในภาษาบาลีพระพุทธศาสนา และสมเด็จพระสังฆราช
  • นิสิต นักศึกษา อาจารย์ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์)
  • พระภิกษุสามเณร ประชาชนทั่วไป
  • นักวิชาการและผู้สนใจชาวต่างประเทศ
  • ผู้สื่อข่าว

ระยะเวลาในการดำเนินงาน

  • ระหว่างวันที่๑-๓ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
  • วันที่๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ประชุมนานาชาติเรื่อง พระพุทธศาสนาในศตวรรษใหม่ภาคภาษาบาลี
  • วันที่ ๒-๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ประชุม เรื่อง พระพุทธศาสนาในศตวรรษใหม่ ภาคภาษาไทย พระพุทธศาสนาวิชาการเทิดพระเกียรติเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ที่วัดบวรนิเวศวิหาร
  • วันที่ ๒-๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ประชุม เรื่อง Buddhism in the New Century ภาคภาษาอังกฤษ พระพุทธศาสนาวิชาการเทิดพระเกียรติเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ที่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก

ผู้รับผิดชอบโครงการ

คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพระชันษา ๙๖ ปีวัดบวรนิเวศวิหาร สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มหาวิทยาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาโลก สมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาเถรวาทนานาชาติ

สถานที่ดำเนินการ

ห้องประชุมมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, อาคาร สว ธรรมนิเวศ, องค์การ พ.ส.ล. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  • กระตุ้นให้เห็นคุณค่าของภาษาบาลีในการจรรโลงพระพุทธศาสนา และส่งเสริมให้สร้างวรรณกรรมทางภาษาบาลีใหม่ๆ
  • ทำให้พระบุคคลิกภาพในหลายๆ ด้าน ของ เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและนานาชาติ
  • ทำให้เข้าใจทิศทางของพระพุทธศาสนาในปัจจุบันและสู่ศตวรรษใหม่



"...And on this auspicious occasion, I am very honoured to have this opportunity to present this Tipiṭaka Studies Reference (Pāḷi language in Roman Script), the first special edition in Thailand, to this unique international conference, through Phra Prommuni, deputy abbot and chair of the organizing committee."

..." (แปลภาษาไทย) ในโอกาสอันเป็นมงคลนี้ ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกีัยรติที่จะได้มอบ "ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง (ภาษาปาฬิ อักษรโรมัน)" ชุด 40 เล่ม ซึ่งเป็นชุดพิเศษชุดแรกในประเทศไทย สำหรับการประชุมวิชาการภาษาปาฬิครั้งพิเศษครั้งนี้ แก่พระเดชพระคุณพระพรหมโมลี รองเจ้าอาวาส และประธานอำนวยการจัดงาน"