วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สมเด็จพระสังฆราชทรงทันสมัยและมีวิสัยทัศน์ในการเผยแผ่พระพระไตรปิฏกไปทั่วโลก

พระองค์มีพระปรีชามาก ทรงฝึกหัดภาษาต่างประเทศด้วยพระองค์เอง จนสามารถรับสั่งอย่างคล่องแคล่ว และทรงเขียนได้ 4 ภาษาคือ ภาษาอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมัน และ จีน นอกจากนี้ ตัวอักษรที่ทรงอ่านและเขียนได้คล่องคืออักษรขอมโบราณ อักษรพม่า อักษรสิงหล และอักษรเทวนาครี











พระนิพนธ์อันทรงคุณ

 สมเด็จพระสังฆราชทรงนิพนธ์เรื่องต่างๆ ไว้เป็นอันมาก ทั้งที่เป็นตำรา พระธรรมเทศนา นิยายทั่วไป โดยพระนิพนธ์ล่าสุดเรื่อง “จิตตนคร” โดย พระธีรโพธิ ภิกขุ ได้จัดพิมพ์เป็นหนังสือภาพในชื่อ “จิตรกรรมเล่าเรื่องจิตตนคร” เพื่อฉลองพระชันษา 100 ปี

“พระนิพนธ์มีมหาศาลมากที่กำลังจัดพิมพ์ขณะนี้ มีถึง 32 ซีรีย์ แต่ละเล่มหนาถึง 500หน้า ซึ่งเป็นธรรมะทุกระดับ”

ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสดับฟังเทปของสมเด็จพระสังฆราชเรื่อง “สัมมาทิฏฐิ” ซึ่งเป็นธรรมะที่ลึกซึ้ง และทรงสนพระทัยมากจนขอประทานอนุญาตสมเด็จพระสังฆราช เพื่อพิมพ์ถวาย โดยในหลวงทรงพิสูจน์อักษรด้วยพระองค์เอง

ส่ง”พระธรรมทูต”เผยแผ่ศาสนา

สมเด็จพระสังฆราชทรงทันสมัยและมีวิสัยทัศน์ในเรื่องพระศาสนาอย่างกว้างไกล ปัจจุบันเราจะเห็นว่า มีพระไทยและวัดไทยที่ไปเผยแผ่พระพุทธทั่วโลก อันเนื่องมาจากพระดำริที่มองการณ์ไกลของพระองค์นั่นเอง


เมื่อปี พ.ศ.2509 สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระองค์แรก ที่ทรงดำริที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังต่างประเทศ พระองค์จึงทรงเป็นประธานกรรมการอำนวยการ ฝึกอบรมพระธรรมทูตในต่างประเทศ


“ตอนนั้นพระองค์ท่านทรงริเริ่มฝึกพระธรรมทูต โดยเลือกจากพระเณรให้ฝึกพูดภาษาอังกฤษก่อน จากนั้นก็ฝึกให้ใช้ชีวิตที่เปลี่ยนตามสภาพแวดล้อมได้ เพื่อง่ายต่อการส่งไปเผยแพร่ศาสนายังวัดในต่างประเทศ”

จากพระธรรมทูตองค์แรกเมื่อปี 2509 จนถึงปัจจุบัน มีพระธรรมทูตที่ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา และสร้างวัดทั่วโลกถึง 200 แห่ง และในโอกาสฉลองพระชันษา 100 ปี เหล่าพระธรรมทูตก็ได้กลับมาที่วัดบวรฯ เพื่อสัมมนาตรวจสอบจิตวิญญาณแห่งพระธรรมทูตครั้งใหญ่ร่วมกัน


เครดิตภาพ. : โครงการพระไตรปิฏกอักษรโรมัน กองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค, มูลนนิธิพระไตรปิฎก

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ "The Phonetic Edition"


เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เวลา 16.21 น. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ทรงเป็นประธานในพิธีสมโภชพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ซึ่งมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ร่วมกับศาลฎีกา จัดขึ้น เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ด้วยทั้งสองพระองค์มีพระราชศรัทธาเลื่อมใส­ใน การอนุรักษ์ และจัดพิมพ์พระไตรปิฎก
สำหรับ พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ หรือ "The Phonetic Edition" นี้ จัดพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก สำหรับอ่านออกเสียงปาฬิ ที่แม่นตรงตามกฎไวยากรณ์กัจจายะนะ อันเป็นการธำรงไว้ซึ่งความถูกต้องของพระธั­มม์คำสอนในสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในการนี้ ได้ประทาน "ภิกขุปาติโมกข์ปาฬิ ฉบับสัชฌายะปฐมฤกษ์" ซึ่งเป็นพระวินัยปิฎก ที่เป็นหลักการทางกฎหมายสูงสุดของสงฆ์ แก่ศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครองสูงสุด และในโอกาสนี้ ได้ถวาย "ภิกขุปาติโมกข์ปาฬิ" ซึ่งจัดพิมพ์ด้วยสัททอักขระ-ปาฬิ แด่คณะสงฆ์เถรวาทนานาชาติทั่วโลก ด้วย






เอกสารจดหมายสมโภช


"นำความกราบบังคมทูลเกล้าพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทและทูลเกล้าฯ ถวายพระไตรปิฏกเพื่อทรงอนุโมทนาแล้ว"











คำกราบทูล
นายวิรัช ชินวินิจกุล รองประธานศาลฎีกา
ประธานคณะกรรมการจัดงาน

กราบทูลทราบฝ่าพระบาท

เกล้ากระหม่อม นายวิรัช ชินวินิจกุล ประธานคณะกรรมการจัดงาน ขอกราบทูลรายนาม พระเถรานุเถระ ซึ่งเป็นผู้แทนจากการประชุมคณะสงฆ์นานาชาติ พ.ศ. ๒๕๕๗ วัดอมราวดี ประเทศสหราชอาณาจักร ที่ได้อนุโมทนาการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ภิกขุปาติโมกขะปาฬิ ซึ่งจัดพิมพ์โดยมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล มีรายนามดังต่อไปนี้

1. พระราชสุเมธาจารย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

2. ปสันโนภิกขุ ประเทศแคนาดา

3. อมโรภิกขุ สหราชอาณาจักร

4. เมธิโนภิกขุ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์

5. สิริปัญโญภิกขุ ราชอาณาจักรไทย และ สหพันธรัฐมาเลเซีย

6. เกวลีภิกขุ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

7. โรจโนภิกขุ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล

8. ญาณทัสสโนภิกขุ สาธารณรัฐเช็ก

9. อโสโกภิกขุ สมาพันธรัฐสวิส

10. ชินวังโสภิกขุ ราชอาณาจักรนอร์เวย์

ลำดับต่อไปเป็นการประทานพระไตรปิฎก ชุดชาติพันธุ์ไท ได้แก่ อักขระไทสยาม-ปาฬิ, อักขระไทล้านนา-ปาฬิ, อักขระไทใหญ่-ปาฬิ, อักขระไทน้อย-ปาฬิ, อักขระไทขึน-ปาฬิ,
อักขระไทลื้อ-ปาฬิ, อักขระโรมัน-ปาฬิ, สัททอักขระโรมัน-ปาฬิ และ สัททอักขระไทย-ปาฬิ
รวม ๙ อักขระ
มีรายนามดังต่อไปนี้
1. (ศาลฎีกา) นายจิรนิติ หะวานนท์
2. (ศาลรัฐธรรมนูญ) นายวรวิทย์ กังศศิเทียม
3. (ศาลปกครองสูงสุด) นายสมชาย เอมโอช
4. มูลนิธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
พลเอก จรัล กุลละวณิชย์
5. มูลนิธิสยามบรมราชกุมารี เพื่อโรงเรียนจิตรลดา
คุณหญิงจามรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
6. กลุ่มลูกหลานเจ้านายฝ่ายเหนือ สืบสกุลเจ้าเจ็ดตน
เจ้าศรีรัตน์ ณ ลำปาง
7. ชาติพันธุ์ไทขึน-เชียงตุง
เจ้าวรจักร ณ เชียงตุง
8. มูลนิธิเลิศ-สิน
นางสัณหพิศ สมบัติศิริ
9. มูลนิธิ ดร. เทียม โชควัฒนา
นายประจักษ์ อัสสันตชัย
10. มูลนิธิพระธรรมแสง
นางสาว พันธินีย์ จำเนียรไวย
11. The English Saṁgha Trust
นายเอ็ดเวิร์ด ลีววิส (Edward Lewis)
12. The Japan Foundation, Bangkok
นายคาซึฮิโร ฟุคุดะ (Kazuhiro Fukuda)

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด


เครดิตภาพ : มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล - World Tipiṭaka Foundation
ดูข้อมูลเพิ่มเติม : มูลนิธิพระไตรปิฏกสากล