พระไตรปิฎกปาฬิ ฉบับสังคายนาสากลนานาชาติ พ.ศ. 2500
พิมพ์อักษรโรมัน พ.ศ. 2548
พิมพ์อักษรโรมัน พ.ศ. 2548
จัดพิมพ์โดย กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ พ.ศ. 2548
เผยแผ่่ทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นพระธัมมทาน
ในโครงการเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล ในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ในโครงการเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล ในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ข้อมูลเบื้องต้นจาก “พระไตรปิฎก : สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้”
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
และ
แบ่งเล่มตามคัมภีร์พระไตรปิฎก "ปาฬิภาสา" เป็นชุด 40 เล่ม
โดย อาจารย์สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ.9
แบ่งเล่มตามคัมภีร์พระไตรปิฎก "ปาฬิภาสา" เป็นชุด 40 เล่ม
โดย อาจารย์สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ.9
หมายเหตุ : จากหนังสือ "พระไตรปิฎกสากล :
อารยธรรมทางปัญญา...นำสันติสุขและความมั่นคงสู่โลก, พ.ศ. 2550" จัดพิมพ์โดย
โครงการสมทบกองทุนเผยแผ่พระไตรปิฎกสากลในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
มูลนิธิร่วมจิตน้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์. ปรับปรุงใหม่
พ.ศ. 2552.
ในการจัดพิมพ์ใหม่ได้มีการปรับปรุงอักขรวิธีในภาษาไทยตามศัพท์ปาฬิในพระไตรปิฎกปาฬิ ฉบับสังคายนาสากลนานาชาติ พ.ศ. 2500 เช่นเขียนว่า ธัมมะ หรือ ธัมม์ (Dhamma) แทน ธรรม; วัคค์ หรือ วัคคะ (vagga) แทน วรรค; สุตตะ
(sutta) แทน สูตร ตามภาษาพระธัมม์ หรือ ปาฬิภาสา ในพระพุทธศาสนา
เนื่องจากคำว่า วรรค และ สูตร ฯลฯ เป็นคำที่มีรากศัพท์์จากภาษาสันสกฤต
ส่วนคำอื่นๆ ซึ่งทีี่มิใช่มีกำเนิดจากแนวความคิดพระพุทธศาสนาในพระไตรปิฎก
เช่น อารยธรรม ก็คงใช้ ธรรม ตามความนิยมเดิม
โปรดสังเกตุ ชื่อคัมภีร์พระไตรปิฎกสากล --ปาฬิภสาสา อักษรโรมัน-- เขียนตามต้นฉบับการสังคายนานานาชาติ พ.ศ. 2500 โดยมีคำว่า "ปาฬิ" ต่อท้ายทุกคัมภีร์ แสดงว่าเป็นพระไตรปิฎกปาฬิภาสา เช่น Mūlapaṇṇāsapāḷi หรือ มูลปัณณาสปาฬิ (ซึ่งต่างจากการตั้งชื่อคัมภีร์์ของพระไตรปิฎกปาฬิ ฉบับอักษรไทย ที่เรียกกันว่า มูลปัณณาสก์)
ดู รายละเอียด เรื่อง "เสียงปาฬิ : คำศัพท์สำคัญในวัฒนธรรมพระไตรปิฎกปาฬิ" โดย ศาสตารจารย์กิตติคุณ ดร. วิจินตน์ ภาณุพงศ์, วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ 34 ฉบับที่ 4, 2552.
การเขียน "คำอ่านปาฬิภาสา" ด้วย "สัททอักษรไทยปาฬิ" สำหรับชื่อต่างๆ ในเว็บนี้ ได้นำเสนอต่อราชบัณฑิตยสถาน ในปี พ.ศ. 2553 และจะจัดพิมพ์ในวารสารราชบัณฑิตยสถา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น