ความหลุดพ้นแห่งจิตเป็นแก่นแท้พรหมจรรย์
→ 9M:1092
(พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกายะ มูลปัณณาสปาฬิ มหาสาโรปมสุตตะ)
“ความหลุดพ้นแห่งจิตเป็นแก่นแท้ของพรหมจรรย์”
กล่าวถึงสารสำคัญในพระพุทธศาสนา คือความหลุดพ้นแห่งจิต ได้แก่
จิตที่ปราศจากความโลภ ความโกรธ และความหลง
พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนและมีบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกว่า
จุดหมายของการประพฤติปฏิบัติธัมมะ มิใช่เพื่อลาภและความสรรเสริญใดๆ
ผลของการปฏิบัติธัมมะมิใช่เพียงเพื่อการรักษาศีล สมาธิ
หรืออิทธิฤทธิ์เท่านั้น
แต่แก่นแท้ของพรหมจรรย์คือการปฏิบัติธัมมะเพื่อความหลุดพ้นของจิต
ได้แก่การทำให้จิตบริสุทธิ์ปราศจากกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ
หรือปราศจากความโลภ ความโกรธ และความหลง
พิมพ์โดยกรุงเทพมหานคร ถวายเป็นพระราชกุศลในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 2551
พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกายะ มูลปัณณาสปาฬิ เล่ม 9
ข้อ 311 ย่อหน้า 1092
(ความหลุดพ้นของจิต เป็นแก่นแท้พรหมจรรย์)
มัชฌิมนิกายะ มูลปัณณาสปาฬิ เล่ม 9
ข้อ 311 ย่อหน้า 1092
(ความหลุดพ้นของจิต เป็นแก่นแท้พรหมจรรย์)
...พรหมจรรย์นี้
มิใช่มีลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นผล,
มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นผล (สูงสุด),
มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นผล (สูงสุด),
มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นผล (สูงสุด).
แต่พรหมจรรย์นี้ มีความหลุดพ้นแห่งจิต
อันไม่หวั่นไหว เป็นจุดหมาย,
นี้เป็นแก่น นี้เป็นที่สุด.
แปลโดย สิริ เพ็ชรไชย, ป.ธ.9 ประธานกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ และคณะ พ.ศ. 2551 มิใช่มีลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นผล,
มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นผล (สูงสุด),
มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นผล (สูงสุด),
มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นผล (สูงสุด).
แต่พรหมจรรย์นี้ มีความหลุดพ้นแห่งจิต
อันไม่หวั่นไหว เป็นจุดหมาย,
นี้เป็นแก่น นี้เป็นที่สุด.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น