1.Sukkavissaṭṭhisikkhāpada
ห้ามภิกขุปล่อยสุกะ
Sukkavissaṭṭhisikkhāpada
(สิกขาบท: ปล่อยสุกะ)
(สิกขาบท: ปล่อยสุกะ)
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 1
อาบัติหนักเพราะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
อาบัติหนักเพราะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
“Sañcetanikā sukkavissaṭṭhi saṃghādiseso”ti.
สัญเจตะนิกา สุกกะวิสัฎฐิ, อัญญัต๎ระ สุปินันตา สังฆาทิเสโส.
“ปล่อยสุกกะเป็นไปด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝันเป็นสังฆาทิเสส.”
วิภังค์
บทว่า เป็นไปด้วยความจงใจ ความว่า รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจ ตั้งใจละเมิด บทว่า สุกกะ อธิบายว่า สุก กะ(น้ำอสุจิ) มี 10 อย่าง คือ 1.สุกกะสีเขียว 2.สุกกะสีเหลือง 3.สุุกกะสีแดง 4.สุกกะสีขาว 5.สุกกะสีเหมือนเปรียง 6.สุกกะสีเหมือนน้ำท่า 7.สุกกะสีเหมือนน้ำมัน 8.สุกกะสีเหมือนนมสด 9.สุกกะสีเหมือนนมส้ม 10.สุกกะสีเหมือนเนยใส
การกระทำอสุจิให้เคลื่อนจากฐานเรียกว่า การปล่อย ชื่อว่า ปล่อย
1.ภิกขุมีอสุจิเคลื่อนเพราะฝัน
2.ภิกขุไม่ประสงค์จะให้อสุจิเคลื่อน
3.ภิกขุวิกลจริต
4.ภิกขุมีจิตฟุ้งซ่าน
5.ภิกขุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
6.ภิกขุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องต้นบัญญัติ
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ของอนาถปิณฑิก คฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี ภิกขุเสยยสกะถูกพระอุทายีแนะนำในทางที่ผิดให้ใช้มือเปลื้องความใคร่ ทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
อนุบัญญัติ
สมัยนั้น ภิกขุทั้งหลายนอนหลับ น้ำอสุจิเคลื่อนด้วยความฝันเกิดความสงสัยว่า จะต้องสังฆาทิเสส จึงกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสว่า เจตนามีอยู่ แต่ไม่ควรกล่าวว่ามี(อัพโพหาริก) แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติม เพิ่มข้อยกเว้นสำหรับความฝัน
องค์แห่งอาบัติ
1.เจตนาจะให้เคลื่อน
2.พยายาม
3.อสุจิเคลื่อน
พร้อมด้วยองค์ 3 ดังนี้ จึงเป็นสังฆาทิเสส (บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 132).
อัพโพหาริก เจตนาที่จะยินดีนั้นมีอยู่ แต่กล่าวไม่ได้ว่ามี เพราะเกิดขึ้นนอกเหนือขอบเขต เจตนาในความฝันเป็นเจตนานอกเหนือขอบเขต (วิ.อ.2/235/2-3)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น