3.Duṭṭhullavācāsikkhāpada
ห้ามภิกขุพูดเกี้ยวหญิง
Duṭṭhullavācāsikkhāpada
(สิกขาบท: วาจาชั่วหยาบ)
(สิกขาบท: วาจาชั่วหยาบ)
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 3
อาบัติหนักเพราะมีจิตกำหนัดพูดเกี้ยวหญิง
อาบัติหนักเพราะมีจิตกำหนัดพูดเกี้ยวหญิง
“Yo pana bhikkhu otiṇṇo vipariṇatena cittena mātugāmaṃ duṭṭhullāhi vācāhi obhāseyya yathā taṃ yuvā yuvatiṃ methunupasaṃhitāhi, saṃghādiseso”ti. (3:7)
โย ปะนะ ภิกขุ โอติณโณ วิปะริณะเตนะ จิตเตนะ มาตุคามัง…
วิภังค์
วาจาที่ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ วาจาที่พาดพิงวัจจมรรค ปัสสาวมรรค และเมถุนธัมม์
บทว่า พูดเคาะ คือที่เรียกกันว่า ประพฤติล่วงเกิน (ทางวาจา)
อนาบัติ
1.ภิกขุผู้มุ่งประโยชน์
2.ภิกขุผู้มุ่งธัมม์
3.ภิกขุผู้มุ่งสั่งสอน
4.ภิกขุวิกลจริต
5.ภิกขุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.
เรื่องต้นบัญญัติ
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม แล้วเล่าเรื่องสตรีหลายคนพากันไปชมวิหารของพระอุทายี ซึ่งเลื่องลือกันว่างดงาม พระอุทายีก็ถือโอกาสนั้นพูดจาพาดพิงถึงทวารหนักทวารเบาของหญิงเหล่านั้น. หญิงบางคนที่เป็นคนคะนองไม่มีความอาย ก็ยิ้มแย้ม ซิกซี้ คิกคัก พูดล้อกับพระอุทายี ส่วนหญิงที่มีความละอาย ก็ว่ากล่าวติเตียน
ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ไต่สวนได้ความเป็นสัตย์ก็ทรงติเตียนแล้วทรงบัญญัติ สิกขาบท ห้ามภิกขุมีจิตกำหนัดพูดเกี้ยว หญิงด้วยวาจาชั่วหยาบ พาดพิงเมถุน ทำนองชายหนุ่มพูดเกี้ยวหญิงสาว ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแก่ผู้ล่วงละเมิด.
องค์แห่งอาบัติ
1.หญิงมนุษย์
2.รู้อยู่ว่าเป็นหญิง
3.กำหนัดยินดีการที่จะกล่าวคำชั่วหยาบ
4.กล่าวตามความกำหนัดนั้น
5.หญิงรู้ความในขณะนั้น
พร้อมด้วยองค์ 5 ดังนี้ จึงเป็นสังฆาทิเสส (บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 135)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น