6.Kuṭikārasikkhāpada
ห้ามสร้างกุฏิเองโดยไม่มีผู้ถวาย
Kuṭikārasikkhāpada
(สิกขาบท: สร้างกุฏิ)
(สิกขาบท: สร้างกุฏิ)
สังฆาทิเสสสิขาบทที่ 6
อาบัติหนักเพราะสร้างกุฏีด้วยการขอใหญ่เกิน
อาบัติหนักเพราะสร้างกุฏีด้วยการขอใหญ่เกิน
“Saññācikāya pana bhikkhunā kuṭiṃ kārayamānena assāmikaṃ attuddesaṃ pamāṇikā kāretabbā. Tatridaṃ pamāṇaṃ— dīghaso dvādasa vidatthiyo, sugatavidatthiyā; tiriyaṃ sattantarā. Bhikkhū abhinetabbā vatthudesanāya. Tehi bhikkhūhi vatthu desetabbaṃ— anārambhaṃ saparikkamanaṃ. Sārambhe ce bhikkhu vatthusmiṃ aparikkamane saññācikāya kuṭiṃ kāreyya, bhikkhū vā anabhineyya vatthudesanāya, pamāṇaṃ vā atikkāmeyya, saṃghādiseso”ti. (6:10)
สัญญาจิกายะ ปะนะ ภิกขุนา กุฏิง การะยะมาเนนะ…
อนาบัติ
1.ภิกขุผู้ไปด้วยกรณียกิจของสงฆ์ก็ดี ของเจดีย์ก็ตาม ของภิกขุอาพาธก็ดี
2.ภิกขุวิกลจริต
3.ภิกขุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.
เรื่องต้นบัญญัติ
พระผุ้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม สมัยนั้น พระอุทายีเมื่อเห็นเด็กชายที่ยังไม่มีภริยา เด็กหญิงที่ยังไม่มีสามี ก็เที่ยวพูด สรรเสริญเด็กหญิงในสำนักมารดาบิดาของเด็กชาย เขาก็วานให้พระอุทายีไปสู่ขอเด็กหญิงนั้น พระอุทายีไปเที่ยวพูดสรรเสริญเด็กชายในสำนักมารดาของ เด็กหญิงเขาก็วานให้พระอุทายีไปพูดให้ฝ่ายชายมาขอบุตรีของตน. โดยนัยนี้พระอุทายีก็ทำให้เกิดการอาวาหะ วิวาหะ และการสู่ขอหลายราย.
สมัยนั้น ธิดาของหญิงม่ายผู้เคยเป็นภริยาโหรคนหนึ่งมีรูปงามน่าดูน่าชม. สาวกของอาชีวกซึ่งอยู่ต่างตำบลจึงมาขอธิดานั้น แต่มารดาของนางอ้างว่า นางไม่รู้จักทั้งก็มีลูกคนเดียวลูกจะต้องไปสู่ตำบลบ้านอื่น จึงไม่ยอมยกให้ สาวกของอาชีวกจึงไปหาพระอุทายีขอให้ช่วยสู่ขอและรับรองให้ พระอุทายีก็ไปพูดกับหญิงนั้น นางเชื่อว่าพระอุทายีรู้จัก จึงยอมยกให้สาวกของอาชีวกรับเด็กหญิงนั้นไปเลี้ยงดูอย่างลูกสะใภ้ได้เดือนเด ียว ต่อมาก็เลี้ยงดู แบบทาสี.
เด็กหญิงจึงส่งข่าวไปแจ้งให้มารดาทราบว่าตนได้รับความลำบาก อยู่อย่างทาสี ขอให้มารดามารับกลับไป มารดาจึงไปต่อว่าสาวกอาชีวก แต่ก็กลับถูกรุกราน อ้างว่าการนำมานำไปไม่เกี่ยวกับนาง แต่เกี่ยวกับพระอุทายี จึงไม่รับรู้เรื่องนี้ นางจึงต้องกลับสู่เมืองสาวัตถี.
เด็กหญิงนั้น ส่งทูตไปแจ้งข่าวแก่มารดาเป็นครั้งที่ 2 เล่าถึงความลำบากยากแค้นที่ได้รับในการที่มีความเป็นอยู่แบบทาสี ขอให้มารดานำตัวกลับ.มารดาจึงไปหาพระอุทายีให้ช่วยไปเจรจากับสาวกอาชีวกให้ พระอุทายีก็ไปเจรจา แต่ก็ถูกรุกรานกลับมา โดยอ้างว่าพระอุทายีไม่เกี่ยว การนำมานำไปเป็นเรื่องระหว่างตนกับมารดาของเด็กหญิง เป็นสมณะควรขวนขวายน้อย ควรเป็นสมณะที่ดี พระอุทายีจึงต้องกลับ.
เด็กหญิงนั้น ส่งทูตไปแจ้งข่าวเช่นเดิมแก่มารดาอีกเป็นครั้งที่ 3 ขอให้นำตัวกลับ มารดาจึงไปหาพระอุทายี พระอุทายีก็บอกว่าไปแล้วและถูกรุกราน ไม่ยอมไปอีก. มารดาของเด็กหญิงนั้นและหญิงอื่น ๆ ที่ไม่พอใจแม่ผัว พ่อผัวหรือสามี ก็พากันติเตียนสาปแช่งพระอุทายี ส่วนหญิงที่พอใจ แม่ผัว พ่อผัวหรือสามี ก็สรรเสริญให้พรพระอุทายี.
ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนได้ความเป็นสัตย์ จึงทรงติเตียน แล้วบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกขุชักสื่อให้ชาย หญิงเป็นผัวเมียกัน ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแก่ผู้ล่วงละเมิด.
ต่อมาพระอุทายีก่อเรื่องขึ้นอีก โดยพวกนักเลงขอร้องให้ไปตามหญิงแพศยามา เพื่ออยู่ร่วมกันชั่วคราวมีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติมว่า การชักสื่อเช่นนั้น แม้โดยที่สุด ทำกับหญิงแพศยาเพื่อสำเร็จความประสงค์ ชั่วขณะหนึ่งก็ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
องค์แห่งอาบัติ
1.นำสัญจริตตะ (การชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน) ในผู้ใด ผู้นั้นเป็นชาติมนุษย์
2.เขาไม่เป็นผัวเป็นเมียกันอยู่ก่อน หรือว่าเป็นแต่ว่าหย่าขาดกันแล้ว
3.รับคำเขา
4.บอกตามเขาสั่ง
5.กลับมาบอกแก่ผู้วาน
พร้อมด้วยองค์ 5 ดังนี้ จึงเป็นสังฆาทิเสส ( บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 138 )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น