วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Attakāmapāricariyasikkhāpada

4.Attakāmapāricariyasikkhāpada 

ห้ามภิกขุพูดชมการบำเรอกาม

Attakāmapāricariyasikkhāpada
(สิกขาบท: บำเรอกามเพื่อตน)

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 4
อาบัติหนักเพราะพูดให้หญิงบำเรอตนด้วยกาม 

“Yo pana bhikkhu otiṇṇo vipariṇatena cittena mātugāmassa santike attakāmapāricariyāya vaṇṇaṃ bhāseyya— ‘etadaggaṃ, bhagini, pāricariyānaṃ yā mādisaṃ sīlavantaṃ kalyāṇadhammaṃ brahmacāriṃ etena dhammena paricareyyāti methunupasaṃhitena’, saṃghādiseso”ti. (4:8)
Mahāsaṅgīti Tipiṭaka Buddhavasse 2500
1V:1186-1186 Creative Commons License

โย ปะนะ ภิกขุ โอติณโณ วิปะริณะเตนะ จิตเตนะ มาตุคามัสสะ…

“อนึ่ง ภิกขุใด กำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกามในสำนักมาตุคาม ด้วยถ้อยคำพาดพิงเมถุนว่า น้องหญิง หญิงใดบำเรอผู้ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณธัมม์ เช่นเรา ด้วยธัมม์นั่น นั่นเป็นยอดแห่งความบำเรอทั้งหลาย เป็นสังฆาทิเสส.”

อนาบัติ

1.ภิกขุกล่าวว่า
ขอท่านจงบำรุงด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยของภิกขุไข้ ดังนี้ เป็นต้น
2.ภิกขุวิกลจริต
3.ภิกขุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.

เรื่องต้นบัญญัติ

พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม แล้วเล่าถึงหญิงหม้ายคนหนึ่ง ผู้มีรูปร่างงดงาม พระอุทายีเข้าไปสู่สกุลนั้น สั่งสอนจนเกิดความเลื่อมใสแล้ว นางปวารณาที่จะถวายผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่นอน ที่นั่ง และยารักษาโรค แต่พระอุทายีกลับพูดล่อหรือชักชวนหญิงนั้น ให้บำเรอตนด้วยกาม ถือว่าเป็นสิ่งที่หาได้ยาก นางหลงเชื่อแสดงอาการยินยอม พระอุทายีถ่มน้ำลายแสดงอาการรังเกียจ นางติเตียนพระอุทายี.

ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ไต่สวนติเตียนแล้ว ทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกขุมีจิตกำหนัด พูดล่อหญิงให้บำเรอตนด้วยกาม ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแก่ผู้ล่วงละเมิด.

องค์แห่งอาบัติ
1.หญิงมนุษย์
2.รู้อยู่ว่าเป็นหญิง
3.กำหนัดยินดีในที่จะกล่าวคำชั่วหยาบ
4.กล่าวตามความกำหนัดนั้น
5.หญิงรู้ความในขณะนั้น

พร้อมด้วยองค์ 5 ดังนี้ จึงเป็นสังฆาทิเสส (บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 136)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น