2.Kāyasaṃsaggasikkhāpada
ห้ามภิกขุถูกต้องตัวหญิง
Kāyasaṃsaggasikkhāpada
(สิกขาบท: ถูกต้องกาย)
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 2
อาบัติหนักเพราะมีจิตกำหนัดจับต้องกายหญิง
(สิกขาบท: ถูกต้องกาย)
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 2
อาบัติหนักเพราะมีจิตกำหนัดจับต้องกายหญิง
“Yo pana bhikkhu otiṇṇo vipariṇatena cittena mātugāmena saddhiṃ kāyasaṃsaggaṃ samāpajjeyya hatthaggāhaṃ vā veṇiggāhaṃ vā aññatarassa vā aññatarassa vā aṅgassa parāmasanaṃ, saṃghādiseso”ti. (2:6)
โย ปะนะ ภิกขุ โอติณโณ วิปะริณะเตนะ จิตเตนะ มาตุคาเมนะ…
อนาบัติ (ลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติ)
1.ภิกขุไม่จงใจถูกต้อง
2.ภิกขุถูกต้องด้วยไม่มีสติ
3.ภิกขุไม่รู้
4.ภิกขุไม่ยินดี
5.ภิกขุวิกลจริต
6.ภิกขุมีจิตฟุ้งซ่าน
7.ภิกขุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
8.ภิกขุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.
เรื่องต้นบัญญัติ
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม แล้วกล่าวถึงวิหารของพระอุทายีว่างดงาม มีเตียงตั่งฟูกหมอน น้ำดื่มน้ำใช้ตั้งไว้ดีมีบริเวณอันกวาดสะอาด มนุษย์ทั้งหลาย พากันไปชมวิหาร มากด้วยน้ำ พราหมณ์ผู้หนึ่งพาภริยาไปขอชมวิหาร พระอุทายีก็พาชม ให้พราหมณ์เดินหน้าภริยาตามหลัง พระอุทายีเดินตามหลังภริยาของพราหมณ์นั้นอีกต่อหนึ่ง เลยถือโอกาสจับต้องอวัยวะน้อยใหญ่ของนาง นางบอกแก่สามี สามีโกรธติเตียนเป็นอันมาก
ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค ทรงเรียกประชุมสงฆ์ ไต่สวนได้ความเป็นสัตย์ ทรงติเตียนเป็นอันมากแล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกขุมีจิตกำหนัดจับต้องกายหญิง ไม่ว่าจะเป็นการจับมือ จับช้องผม หรือ ลูบคลำ อวัยวะใด ๆ ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสส แก่ผู้ล่วงละเมิด.
องค์แห่งอาบัติ
1.หญิงมนุษย์
2.สำคัญว่าเป็นหญิง
3.กำหนัดด้วยกายสังสัคคราคะ
4.พยายามตามความกำหนัด
5.จับมือเป็นต้น
พร้อมด้วยองค์ 5 ดังนี้ จึงเป็นสังฆาทิเสส (บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 134)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น