วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Kuṭikārasikkhāpada

6.Kuṭikārasikkhāpada 

ห้ามสร้างกุฏิเองโดยไม่มีผู้ถวาย

Kuṭikārasikkhāpada
(สิกขาบท: สร้างกุฏิ)

สังฆาทิเสสสิขาบทที่ 6
อาบัติหนักเพราะสร้างกุฏีด้วยการขอใหญ่เกิน

“Saññācikāya pana bhikkhunā kuṭiṃ kārayamānena assāmikaṃ attuddesaṃ pamāṇikā kāretabbā. Tatridaṃ pamāṇaṃ— dīghaso dvādasa vidatthiyo, sugatavidatthiyā; tiriyaṃ sattantarā. Bhikkhū abhinetabbā vatthudesanāya. Tehi bhikkhūhi vatthu desetabbaṃ— anārambhaṃ saparikkamanaṃ. Sārambhe ce bhikkhu vatthusmiṃ aparikkamane saññācikāya kuṭiṃ kāreyya, bhikkhū vā anabhineyya vatthudesanāya, pamāṇaṃ vā atikkāmeyya, saṃghādiseso”ti. (6:10)
Mahāsaṅgīti Tipiṭaka Buddhavasse 2500
1V:1437-1437 Creative Commons License

สัญญาจิกายะ ปะนะ ภิกขุนา กุฏิง การะยะมาเนนะ…

“อนึ่ง ภิกขุใดถึงความเป็นผู้ชักสื่อ บอกความประสงค์ของชายแก่หญิงก็ดี บอกความประสงค์ของหญิงแก่ชายก็ดี ในความเป็นเมียก็ตาม ในความเป็นชู้ก็ตาม โดยที่สุด บอกแม้แก่หญิงแพศยาอันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะ เป็นสังฆาทิเสส.”

อนาบัติ

1.ภิกขุผู้ไปด้วยกรณียกิจของสงฆ์ก็ดี ของเจดีย์ก็ตาม ของภิกขุอาพาธก็ดี
2.ภิกขุวิกลจริต
3.ภิกขุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.

เรื่องต้นบัญญัติ

พระผุ้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม สมัยนั้น พระอุทายีเมื่อเห็นเด็กชายที่ยังไม่มีภริยา เด็กหญิงที่ยังไม่มีสามี ก็เที่ยวพูด สรรเสริญเด็กหญิงในสำนักมารดาบิดาของเด็กชาย เขาก็วานให้พระอุทายีไปสู่ขอเด็กหญิงนั้น พระอุทายีไปเที่ยวพูดสรรเสริญเด็กชายในสำนักมารดาของ เด็กหญิงเขาก็วานให้พระอุทายีไปพูดให้ฝ่ายชายมาขอบุตรีของตน. โดยนัยนี้พระอุทายีก็ทำให้เกิดการอาวาหะ วิวาหะ และการสู่ขอหลายราย.

สมัยนั้น ธิดาของหญิงม่ายผู้เคยเป็นภริยาโหรคนหนึ่งมีรูปงามน่าดูน่าชม. สาวกของอาชีวกซึ่งอยู่ต่างตำบลจึงมาขอธิดานั้น แต่มารดาของนางอ้างว่า นางไม่รู้จักทั้งก็มีลูกคนเดียวลูกจะต้องไปสู่ตำบลบ้านอื่น จึงไม่ยอมยกให้ สาวกของอาชีวกจึงไปหาพระอุทายีขอให้ช่วยสู่ขอและรับรองให้ พระอุทายีก็ไปพูดกับหญิงนั้น นางเชื่อว่าพระอุทายีรู้จัก จึงยอมยกให้สาวกของอาชีวกรับเด็กหญิงนั้นไปเลี้ยงดูอย่างลูกสะใภ้ได้เดือนเด ียว ต่อมาก็เลี้ยงดู แบบทาสี.

เด็กหญิงจึงส่งข่าวไปแจ้งให้มารดาทราบว่าตนได้รับความลำบาก อยู่อย่างทาสี ขอให้มารดามารับกลับไป มารดาจึงไปต่อว่าสาวกอาชีวก แต่ก็กลับถูกรุกราน อ้างว่าการนำมานำไปไม่เกี่ยวกับนาง แต่เกี่ยวกับพระอุทายี จึงไม่รับรู้เรื่องนี้ นางจึงต้องกลับสู่เมืองสาวัตถี.

เด็กหญิงนั้น ส่งทูตไปแจ้งข่าวแก่มารดาเป็นครั้งที่ 2 เล่าถึงความลำบากยากแค้นที่ได้รับในการที่มีความเป็นอยู่แบบทาสี ขอให้มารดานำตัวกลับ.มารดาจึงไปหาพระอุทายีให้ช่วยไปเจรจากับสาวกอาชีวกให้ พระอุทายีก็ไปเจรจา แต่ก็ถูกรุกรานกลับมา โดยอ้างว่าพระอุทายีไม่เกี่ยว การนำมานำไปเป็นเรื่องระหว่างตนกับมารดาของเด็กหญิง เป็นสมณะควรขวนขวายน้อย ควรเป็นสมณะที่ดี พระอุทายีจึงต้องกลับ.
เด็กหญิงนั้น ส่งทูตไปแจ้งข่าวเช่นเดิมแก่มารดาอีกเป็นครั้งที่ 3 ขอให้นำตัวกลับ มารดาจึงไปหาพระอุทายี พระอุทายีก็บอกว่าไปแล้วและถูกรุกราน ไม่ยอมไปอีก. มารดาของเด็กหญิงนั้นและหญิงอื่น ๆ ที่ไม่พอใจแม่ผัว พ่อผัวหรือสามี ก็พากันติเตียนสาปแช่งพระอุทายี ส่วนหญิงที่พอใจ แม่ผัว พ่อผัวหรือสามี ก็สรรเสริญให้พรพระอุทายี.

ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนได้ความเป็นสัตย์ จึงทรงติเตียน แล้วบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกขุชักสื่อให้ชาย หญิงเป็นผัวเมียกัน ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแก่ผู้ล่วงละเมิด.
ต่อมาพระอุทายีก่อเรื่องขึ้นอีก โดยพวกนักเลงขอร้องให้ไปตามหญิงแพศยามา เพื่ออยู่ร่วมกันชั่วคราวมีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติมว่า การชักสื่อเช่นนั้น แม้โดยที่สุด ทำกับหญิงแพศยาเพื่อสำเร็จความประสงค์ ชั่วขณะหนึ่งก็ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

องค์แห่งอาบัติ
1.นำสัญจริตตะ (การชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน) ในผู้ใด ผู้นั้นเป็นชาติมนุษย์
2.เขาไม่เป็นผัวเป็นเมียกันอยู่ก่อน หรือว่าเป็นแต่ว่าหย่าขาดกันแล้ว
3.รับคำเขา
4.บอกตามเขาสั่ง
5.กลับมาบอกแก่ผู้วาน

พร้อมด้วยองค์ 5 ดังนี้ จึงเป็นสังฆาทิเสส ( บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 138 )

Sañcarittasikkhāpada

5. Sañcarittasikkhāpada 

ห้ามภิกขุเป็นผู้ชักสื่อ

Sañcarittasikkhāpada
(สิกขาบท: ชักสื่อ)
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 5

“Yo pana bhikkhu sañcarittaṃ samāpajjeyya, itthiyā vā purisamatiṃ purisassa vā itthimatiṃ, jāyattane vā jārattane vā, saṃghādiseso”ti.
Mahāsaṅgīti Tipiṭaka Buddhavasse 2500
1V:1234-1234 Creative Commons License

โย ปะนะ ภิกขุ สัญจะริตตัง สะมาปัชเชยยะ อิตถิยา…

“อนึ่ง ภิกขุใดถึงความเป็นผู้ชักสื่อ บอกความประสงค์ของบุรุษแก่หญิงก็ดี บอกความประสงค์ของหญิงแก่บุรุษก็ดี ในความเป็นเมียก็ตาม ในความเป็นชู้ก็ตาม โดยที่สุด บอกแม้แก่หญิงแพศยาอันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะ เป็นสังฆาทิเสส.”

อนาบัติ

1.ภิกขุผู้ไปด้วยกรณียกิจของสงฆ์ก็ดี ของเจดีย์ก็ตาม ของภิกขุอาพาธก็ดี
2.ภิกขุวิกลจริต
3.ภิกขุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.

เรื่องต้นบัญญัติ

พระผุ้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม สมัยนั้น พระอุทายีเมื่อเห็นเด็กชายที่ยังไม่มีภริยา เด็กหญิงที่ยังไม่มีสามี ก็เที่ยวพูด สรรเสริญเด็กหญิงในสำนักมารดาบิดาของเด็กชาย เขาก็วานให้พระอุทายีไปสู่ขอเด็กหญิงนั้น พระอุทายีไปเที่ยวพูดสรรเสริญเด็กชายในสำนักมารดาของ เด็กหญิงเขาก็วานให้พระอุทายีไปพูดให้ฝ่ายชายมาขอบุตรีของตน. โดยนัยนี้พระอุทายีก็ทำให้เกิดการอาวาหะ วิวาหะ และการสู่ขอหลายราย.

สมัยนั้น ธิดาของหญิงม่ายผู้เคยเป็นภริยาโหรคนหนึ่งมีรูปงามน่าดูน่าชม. สาวกของอาชีวกซึ่งอยู่ต่างตำบลจึงมาขอธิดานั้น แต่มารดาของนางอ้างว่า นางไม่รู้จักทั้งก็มีลูกคนเดียวลูกจะต้องไปสู่ตำบลบ้านอื่น จึงไม่ยอมยกให้ สาวกของอาชีวกจึงไปหาพระอุทายีขอให้ช่วยสู่ขอและรับรองให้ พระอุทายีก็ไปพูดกับหญิงนั้น นางเชื่อว่าพระอุทายีรู้จัก จึงยอมยกให้สาวกของอาชีวกรับเด็กหญิงนั้นไปเลี้ยงดูอย่างลูกสะใภ้ได้เดือนเด ียว ต่อมาก็เลี้ยงดู แบบทาสี.

เด็กหญิงจึงส่งข่าวไปแจ้งให้มารดาทราบว่าตนได้รับความลำบาก อยู่อย่างทาสี ขอให้มารดามารับกลับไป มารดาจึงไปต่อว่าสาวกอาชีวก แต่ก็กลับถูกรุกราน อ้างว่าการนำมานำไปไม่เกี่ยวกับนาง แต่เกี่ยวกับพระอุทายี จึงไม่รับรู้เรื่องนี้ นางจึงต้องกลับสู่เมืองสาวัตถี.

เด็กหญิงนั้น ส่งทูตไปแจ้งข่าวแก่มารดาเป็นครั้งที่ 2 เล่าถึงความลำบากยากแค้นที่ได้รับในการที่มีความเป็นอยู่แบบทาสี ขอให้มารดานำตัวกลับ.มารดาจึงไปหาพระอุทายีให้ช่วยไปเจรจากับสาวกอาชีวกให้ พระอุทายีก็ไปเจรจา แต่ก็ถูกรุกรานกลับมา โดยอ้างว่าพระอุทายีไม่เกี่ยว การนำมานำไปเป็นเรื่องระหว่างตนกับมารดาของเด็กหญิง เป็นสมณะควรขวนขวายน้อย ควรเป็นสมณะที่ดี พระอุทายีจึงต้องกลับ.

เด็กหญิงนั้น ส่งทูตไปแจ้งข่าวเช่นเดิมแก่มารดาอีกเป็นครั้งที่ 3 ขอให้นำตัวกลับ มารดาจึงไปหาพระอุทายี พระอุทายีก็บอกว่าไปแล้วและถูกรุกราน ไม่ยอมไปอีก. มารดาของเด็กหญิงนั้นและหญิงอื่น ๆ ที่ไม่พอใจแม่ผัว พ่อผัวหรือสามี ก็พากันติเตียนสาปแช่งพระอุทายี ส่วนหญิงที่พอใจ แม่ผัว พ่อผัวหรือสามี ก็สรรเสริญให้พรพระอุทายี.

ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนได้ความเป็นสัตย์ จึงทรงติเตียน แล้วบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกขุชักสื่อให้ชาย หญิงเป็นผัวเมียกัน ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแก่ผู้ล่วงละเมิด.
ต่อมาพระอุทายีก่อเรื่องขึ้นอีก โดยพวกนักเลงขอร้องให้ไปตามหญิงแพศยามา เพื่ออยู่ร่วมกันชั่วคราว มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติมว่า การชักสื่อเช่นนั้น แม้โดยที่สุด ทำกับหญิงแพศยาเพื่อสำเร็จความประสงค์ ชั่วขณะหนึ่งก็ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

องค์แห่งอาบัติ

1.นำสัญจริตตะ (การชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน) ในผู้ใด ผู้นั้นเป็นชาติมนุษย์
2.เขาไม่เป็นผัวเป็นเมียกันอยู่ก่อน หรือว่าเป็นแต่ว่าหย่าขาดกันแล้ว
3.รับคำเขา
4.บอกตามเขาสั่ง
5.กลับมาบอกแก่ผู้วาน

พร้อมด้วยองค์ 5 ดังนี้ จึงเป็นสังฆาทิเสส ( บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 138 )

Attakāmapāricariyasikkhāpada

4.Attakāmapāricariyasikkhāpada 

ห้ามภิกขุพูดชมการบำเรอกาม

Attakāmapāricariyasikkhāpada
(สิกขาบท: บำเรอกามเพื่อตน)

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 4
อาบัติหนักเพราะพูดให้หญิงบำเรอตนด้วยกาม 

“Yo pana bhikkhu otiṇṇo vipariṇatena cittena mātugāmassa santike attakāmapāricariyāya vaṇṇaṃ bhāseyya— ‘etadaggaṃ, bhagini, pāricariyānaṃ yā mādisaṃ sīlavantaṃ kalyāṇadhammaṃ brahmacāriṃ etena dhammena paricareyyāti methunupasaṃhitena’, saṃghādiseso”ti. (4:8)
Mahāsaṅgīti Tipiṭaka Buddhavasse 2500
1V:1186-1186 Creative Commons License

โย ปะนะ ภิกขุ โอติณโณ วิปะริณะเตนะ จิตเตนะ มาตุคามัสสะ…

“อนึ่ง ภิกขุใด กำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกามในสำนักมาตุคาม ด้วยถ้อยคำพาดพิงเมถุนว่า น้องหญิง หญิงใดบำเรอผู้ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณธัมม์ เช่นเรา ด้วยธัมม์นั่น นั่นเป็นยอดแห่งความบำเรอทั้งหลาย เป็นสังฆาทิเสส.”

อนาบัติ

1.ภิกขุกล่าวว่า
ขอท่านจงบำรุงด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยของภิกขุไข้ ดังนี้ เป็นต้น
2.ภิกขุวิกลจริต
3.ภิกขุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.

เรื่องต้นบัญญัติ

พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม แล้วเล่าถึงหญิงหม้ายคนหนึ่ง ผู้มีรูปร่างงดงาม พระอุทายีเข้าไปสู่สกุลนั้น สั่งสอนจนเกิดความเลื่อมใสแล้ว นางปวารณาที่จะถวายผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่นอน ที่นั่ง และยารักษาโรค แต่พระอุทายีกลับพูดล่อหรือชักชวนหญิงนั้น ให้บำเรอตนด้วยกาม ถือว่าเป็นสิ่งที่หาได้ยาก นางหลงเชื่อแสดงอาการยินยอม พระอุทายีถ่มน้ำลายแสดงอาการรังเกียจ นางติเตียนพระอุทายี.

ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ไต่สวนติเตียนแล้ว ทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกขุมีจิตกำหนัด พูดล่อหญิงให้บำเรอตนด้วยกาม ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแก่ผู้ล่วงละเมิด.

องค์แห่งอาบัติ
1.หญิงมนุษย์
2.รู้อยู่ว่าเป็นหญิง
3.กำหนัดยินดีในที่จะกล่าวคำชั่วหยาบ
4.กล่าวตามความกำหนัดนั้น
5.หญิงรู้ความในขณะนั้น

พร้อมด้วยองค์ 5 ดังนี้ จึงเป็นสังฆาทิเสส (บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 136)

Duṭṭhullavācāsikkhāpada

3.Duṭṭhullavācāsikkhāpada 

ห้ามภิกขุพูดเกี้ยวหญิง

Duṭṭhullavācāsikkhāpada
(สิกขาบท: วาจาชั่วหยาบ)

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 3
อาบัติหนักเพราะมีจิตกำหนัดพูดเกี้ยวหญิง 

“Yo pana bhikkhu otiṇṇo vipariṇatena cittena mātugāmaṃ duṭṭhullāhi vācāhi obhāseyya yathā taṃ yuvā yuvatiṃ methunupasaṃhitāhi, saṃghādiseso”ti. (3:7)
Mahāsaṅgīti Tipiṭaka Buddhavasse 2500
1V:1135-1135 Creative Commons License

โย ปะนะ ภิกขุ โอติณโณ วิปะริณะเตนะ จิตเตนะ มาตุคามัง…

“อนึ่ง ภิกขุใด กำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว พูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบ เหมือนชายหนุ่มพูดเคาะหญิงสาวด้วยวาจาพาดพึงเมถุน เป็นสังฆาทิเสส.”

วิภังค์

วาจาที่ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ วาจาที่พาดพิงวัจจมรรค ปัสสาวมรรค และเมถุนธัมม์
บทว่า พูดเคาะ คือที่เรียกกันว่า ประพฤติล่วงเกิน (ทางวาจา)

อนาบัติ

1.ภิกขุผู้มุ่งประโยชน์
2.ภิกขุผู้มุ่งธัมม์
3.ภิกขุผู้มุ่งสั่งสอน
4.ภิกขุวิกลจริต
5.ภิกขุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.

เรื่องต้นบัญญัติ

พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม แล้วเล่าเรื่องสตรีหลายคนพากันไปชมวิหารของพระอุทายี ซึ่งเลื่องลือกันว่างดงาม พระอุทายีก็ถือโอกาสนั้นพูดจาพาดพิงถึงทวารหนักทวารเบาของหญิงเหล่านั้น. หญิงบางคนที่เป็นคนคะนองไม่มีความอาย ก็ยิ้มแย้ม ซิกซี้ คิกคัก พูดล้อกับพระอุทายี ส่วนหญิงที่มีความละอาย ก็ว่ากล่าวติเตียน

ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ไต่สวนได้ความเป็นสัตย์ก็ทรงติเตียนแล้วทรงบัญญัติ สิกขาบท ห้ามภิกขุมีจิตกำหนัดพูดเกี้ยว หญิงด้วยวาจาชั่วหยาบ พาดพิงเมถุน ทำนองชายหนุ่มพูดเกี้ยวหญิงสาว ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแก่ผู้ล่วงละเมิด.

องค์แห่งอาบัติ

1.หญิงมนุษย์
2.รู้อยู่ว่าเป็นหญิง
3.กำหนัดยินดีการที่จะกล่าวคำชั่วหยาบ
4.กล่าวตามความกำหนัดนั้น
5.หญิงรู้ความในขณะนั้น

พร้อมด้วยองค์ 5 ดังนี้ จึงเป็นสังฆาทิเสส (บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 135)

Kāyasaṃsaggasikkhāpada

2.Kāyasaṃsaggasikkhāpada 

ห้ามภิกขุถูกต้องตัวหญิง

Kāyasaṃsaggasikkhāpada
(สิกขาบท: ถูกต้องกาย)

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 2
อาบัติหนักเพราะมีจิตกำหนัดจับต้องกายหญิง

“Yo pana bhikkhu otiṇṇo vipariṇatena cittena mātugāmena saddhiṃ kāyasaṃsaggaṃ samāpajjeyya hatthaggāhaṃ vā veṇiggāhaṃ vā aññatarassa vā aññatarassa vā aṅgassa parāmasanaṃ, saṃghādiseso”ti. (2:6)
Mahāsaṅgīti Tipiṭaka Buddhavasse 2500
1V:998-998 Creative Commons License

โย ปะนะ ภิกขุ โอติณโณ วิปะริณะเตนะ จิตเตนะ มาตุคาเมนะ…

“อนึ่ง ภิกขุใดกำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว จึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม คือจับมือก็ตาม จับช้องผมก็ตาม ลูบคลำอวัยวะอันใดอันหนึ่งก็ตาม เป็นสังฆาทิเสส.”

อนาบัติ (ลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติ)

1.ภิกขุไม่จงใจถูกต้อง
2.ภิกขุถูกต้องด้วยไม่มีสติ
3.ภิกขุไม่รู้
4.ภิกขุไม่ยินดี
5.ภิกขุวิกลจริต
6.ภิกขุมีจิตฟุ้งซ่าน
7.ภิกขุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
8.ภิกขุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.

เรื่องต้นบัญญัติ

พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม แล้วกล่าวถึงวิหารของพระอุทายีว่างดงาม มีเตียงตั่งฟูกหมอน น้ำดื่มน้ำใช้ตั้งไว้ดีมีบริเวณอันกวาดสะอาด มนุษย์ทั้งหลาย พากันไปชมวิหาร มากด้วยน้ำ พราหมณ์ผู้หนึ่งพาภริยาไปขอชมวิหาร พระอุทายีก็พาชม ให้พราหมณ์เดินหน้าภริยาตามหลัง พระอุทายีเดินตามหลังภริยาของพราหมณ์นั้นอีกต่อหนึ่ง เลยถือโอกาสจับต้องอวัยวะน้อยใหญ่ของนาง นางบอกแก่สามี สามีโกรธติเตียนเป็นอันมาก

ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค ทรงเรียกประชุมสงฆ์ ไต่สวนได้ความเป็นสัตย์ ทรงติเตียนเป็นอันมากแล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกขุมีจิตกำหนัดจับต้องกายหญิง ไม่ว่าจะเป็นการจับมือ จับช้องผม หรือ ลูบคลำ อวัยวะใด ๆ ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสส แก่ผู้ล่วงละเมิด.

องค์แห่งอาบัติ

1.หญิงมนุษย์
2.สำคัญว่าเป็นหญิง
3.กำหนัดด้วยกายสังสัคคราคะ
4.พยายามตามความกำหนัด
5.จับมือเป็นต้น

พร้อมด้วยองค์ 5 ดังนี้ จึงเป็นสังฆาทิเสส (บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 134)

Sukkavissaṭṭhisikkhāpada

1.Sukkavissaṭṭhisikkhāpada 

ห้ามภิกขุปล่อยสุกะ

Sukkavissaṭṭhisikkhāpada
(สิกขาบท: ปล่อยสุกะ)

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 1
อาบัติหนักเพราะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน

“Sañcetanikā sukkavissaṭṭhi saṃghādiseso”ti.
Mahāsaṅgīti Tipiṭaka Buddhavasse 2500
1V:778-778 Creative Commons License

สัญเจตะนิกา สุกกะวิสัฎฐิ, อัญญัต๎ระ สุปินันตา สังฆาทิเสโส.
“ปล่อยสุกกะเป็นไปด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝันเป็นสังฆาทิเสส.”

วิภังค์

บทว่า เป็นไปด้วยความจงใจ ความว่า รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจ ตั้งใจละเมิด บทว่า สุกกะ อธิบายว่า สุก กะ(น้ำอสุจิ) มี 10 อย่าง คือ 1.สุกกะสีเขียว 2.สุกกะสีเหลือง 3.สุุกกะสีแดง 4.สุกกะสีขาว 5.สุกกะสีเหมือนเปรียง 6.สุกกะสีเหมือนน้ำท่า 7.สุกกะสีเหมือนน้ำมัน 8.สุกกะสีเหมือนนมสด 9.สุกกะสีเหมือนนมส้ม 10.สุกกะสีเหมือนเนยใส

การกระทำอสุจิให้เคลื่อนจากฐานเรียกว่า การปล่อย ชื่อว่า ปล่อย

อนาบัติ

1.ภิกขุมีอสุจิเคลื่อนเพราะฝัน
2.ภิกขุไม่ประสงค์จะให้อสุจิเคลื่อน
3.ภิกขุวิกลจริต
4.ภิกขุมีจิตฟุ้งซ่าน
5.ภิกขุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
6.ภิกขุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ.

เรื่องต้นบัญญัติ

พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ของอนาถปิณฑิก คฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี ภิกขุเสยยสกะถูกพระอุทายีแนะนำในทางที่ผิดให้ใช้มือเปลื้องความใคร่ ทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน

อนุบัญญัติ

สมัยนั้น ภิกขุทั้งหลายนอนหลับ น้ำอสุจิเคลื่อนด้วยความฝันเกิดความสงสัยว่า จะต้องสังฆาทิเสส จึงกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสว่า เจตนามีอยู่ แต่ไม่ควรกล่าวว่ามี(อัพโพหาริก) แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติม เพิ่มข้อยกเว้นสำหรับความฝัน

องค์แห่งอาบัติ
1.เจตนาจะให้เคลื่อน
2.พยายาม
3.อสุจิเคลื่อน

พร้อมด้วยองค์ 3 ดังนี้ จึงเป็นสังฆาทิเสส (บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 132).

อัพโพหาริก เจตนาที่จะยินดีนั้นมีอยู่ แต่กล่าวไม่ได้ว่ามี เพราะเกิดขึ้นนอกเหนือขอบเขต เจตนาในความฝันเป็นเจตนานอกเหนือขอบเขต (วิ.อ.2/235/2-3)

2. Saṃghādisesa สังฆาทิเสสะ

2.Saṃghādisesa สังฆาทิเสสะ

เตรสกัณฑ์
เป็นพระวินัยประเภทที่ 2 มีทั้งหมด 13 ข้อ

ว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ที่ต้องให้สงฆ์เกี่ยวข้องในกัมม์เบื้องต้นและกัมม์อันเหลือ
คือ สงฆ์เป็นผู้ปรับโทษให้อยู่กัมม์และสงฆ์เองเป็นผู้ระงับอาบัติ มี 13 สิกขาบท


Catutthapārājikasikkhāpada

4.Catutthapārājikasikkhāpada 

ห้ามภิกขุอวดอุตริมนุษธัมม์

Catutthapārājikasikkhāpada
(สิกขาบท: จตุตถปาราชิกะ)

ปาราชิกสิกขาบทที่ 4
ขาดจากความเป็นภิกขเพราะอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน

“Yo pana bhikkhu anabhijānaṃ uttarimanussadhammaṃ attupanāyikaṃ alamariyañāṇadassanaṃ samudācareyya— ‘iti jānāmi iti passāmī’ti, tato aparena samayena samanuggāhīyamāno vā asamanuggāhīyamāno vā āpanno visuddhāpekkho evaṃ vadeyya— ‘ajānamevaṃ, āvuso, avacaṃ jānāmi, apassaṃ passāmi. Tucchaṃ musā vilapin’ti, ayampi pārājiko hoti asaṃvāso”ti.
Mahāsaṅgīti Tipiṭaka Buddhavasse 2500
1V:551-551 Creative Commons License

โย ปะนะ ภิกขุ อะนะภิชานัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง…

“อนึ่ง ภิกขุใด ไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความรู้ ความเห็น อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้ามาในตนว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้นอันผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม เป็นอันต้องอาบัติแล้ว มุ่งความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่านข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ได้พูดพล่อย ๆ เป็นเท็จเปล่า ๆ เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ แม้ภิกขุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.”

วิภังค์ (จำแนกความ)

บทว่า อุตตริมนุสสธัมม์ ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ญาณทัสสนะ มรรคภาวนา การทำให้แจ้งซึ่งผล การละกิเลส ความเปิดจิต ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า

บทว่า เป็นปาราชิก ความว่า ต้นตาลมียอดด้วนแล้ว ไม่อาจจะงอกอีกแม้ฉันใด ภิกขุก็ฉันนั้นแหละ มีความอยากอันลามก อันความอยากครอบงำแล้วพูดอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก

อนาบัติ

1.ภิกขุสำคัญว่าได้บรรลุ
2.ภิกขุไม่ประสงค์จะกล่าวอวด
3.ภิกขุวิกลจริต
4.ภิกขุมีจิตฟุ้งซ่าน
5.ภิกขุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
6.ภิกขุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ.

เรื่องต้นบัญญัติ

พระพุทธเจ้าประทับ ณ เรือนยอดในป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี สมัยนั้นมีภิกขุหลายรูปที่ชอบพอเป็นมิตรสหายกัน จำวัสสาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา สมัยนั้น เกิดทุพภิกขภัยในแคว้นวัชชี (ราชธานีชื่อเวสาลี) ภิกขุทั้งหลายลำบากด้วยเรื่องอาหารบิณฑบาต จึงปรึกษากันว่าจะทำอย่างไรดี.

บางรูปเห็นว่า ควรช่วยแนะนำกิจการงานของคฤหัสถ์ บางรูปเห็นว่าควรทำหน้าที่ทูต (คือ นำความข้างนี้ไปบอกข้างนั้น นำความข้างนั้นมาบอกข้างนี้ คล้ายบุรุษไปรษณีย์) บางรูปเห็นว่า ควรใช้วิธีสรรเสริญกันและกันให้คฤหัสถ์ฟังว่า ภิกขุรูปนั้น รูปนี้ มีคุณวิเศษอย่างนั้น อย่างนี้ เช่น ได้ฌานที่ 1 ฌานที่ 2 เป็นต้น จนถึงว่าได้เป็นพระโสดาบัน เป็นพระสกทาคามี เป็นพระอนาคามี เป็นพระอรหันต์ มีวิชชา 3 มีอภิญญา 6
เมื่อเห็นว่าวิธีหลังนี้ดี จึงเที่ยวสรรเสริญกันและกันให้คฤหัสถ์ฟังจึงได้รับการเลี้ยงดูจากคฤหัสถ์ ชาวริมน้ำวัดคุมุทาเป็นอย่างดี มีผิวพณ ผ่องใส เอิบอิ่ม เมื่อออกวัสสาแล้ว จึงเก็บเสนาสนะเดินทางไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ กรุงเวสาลี.

ปรากฎว่าภิกขุที่มาแต่ทิศทางอื่นล้วนซูบผอม ผิวพรรณทราม มีเส้นเอ็นขึ้นเห็นได้ชัด ส่วนภิกขุที่มาจากฝั่งน้ำวัดคุมุทากลับอิ่มเอิบ อ้วนพี พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามทุกข์สุข และทรงทราบเรื่องนั้น จึงตรัสติเตียนและเรียกประชุมภิกขุทั้งหลาย ตรัสเรื่องมหาโจร 5 ประเภท เปรียบเทียบกับภิกขุว่า
มหาโจร 5 จำพวก

“ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย มหาโจร 5 จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก มหาโจร 5 จำพวกเป็นไฉน?

1. ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย มหาโจรบางคนในโลกนี้ย่อมปรารถนาอย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอเราจักเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่งหรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว ท่องเที่ยวไปในคามนิคมและราชธานี เบียดเบียนเองให้ผู้อื่นเบียดเบียน ตัดเองให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเองให้ผู้อื่นเผาผลาญสมัยต่อมา เขาเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่งหรือพันหนึ่ง แวดล้อมแล้วเที่ยวไปในคามนิคมและราชธานี เบียดเบียนเองให้ผู้อื่นเบียดเบียน ตัดเองให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเองให้ผู้อื่นเผาผลาญฉันใด

ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย   ภิกขุผู้เลวทรามบางรูปในธัมม์วินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมปรารถนาอย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ เราจึงจักเป็นผู้อันภิกขุร้อยหนึ่ง หรือ พันหนึ่งแวดล้อมแล้ว เที่ยวจาริกไปในคามนิคมและราชธานี อันคฤหัสถ์และบพชิต สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวรบิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร สมัยต่อมาเธอเป็นผู้อันภิกขุร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว เที่ยวจาริกไปในคามนิคมและราชธานีอันคฤหัสถ์ และบรรพชิตสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรงแล้ว ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารทั้งหลาย ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่

1 มีปรากฏอยู่ในโลก

2. ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกขุผู้เลวทรามบางรูปในธัมม์วินัยนี้ เล่าเรียนธัมม์วินัยอันตถาคตประกาศแล้ว อวดอ้างว่าเป็นของตน ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ 2 มีปรากฏอยู่ในโลก

3. ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกขุผู้เลวทรามบางรูปในธัมม์วินัยนี้ ย่อมตามกำจัดเพื่อนพรหมจารี ผู้หมดจด ผู้ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์อยู่ด้วยธัมม์อันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์อัน หามูลมิได้ ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ 3 มีปรากฏอยู่ในโลก

4. ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกขุผู้เลวทรามบางรูปในธัมม์วินัยนี้ ย่อมสงเคราะห์เกลี้ยกล่อมคฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยครุภัณฑ์ ครุบริขารของสงฆ์ คือ อาราม พื้นที่อาราม วิหาร พื้นที่วิหาร เตียง ตั่ง ฟูก หมอน หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง จอบ สว่าน เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้ามุงกระต่าย หญ้าปล้อง หญ้าสามัญ ดินเหนียว เครื่องไม้ เครื่องดิน ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ 4 มีปรากฏอยู่ในโลก

5. ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย ภิกขุผู้กล่าวอวดอุตตริมนุสธัมม์อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง นี้จัดเป็นยอดมหาโจร ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกขุนั้น ฉันก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น ด้วยอาการแห่งคนขโมย.”

ครั้งแล้วทรงติเตียนภิกขุชาวริมฝั่งแม่น้ำวัดคุมุทา ด้วยประการต่าง ๆ พร้อมทั้งทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน เมื่ออวดไปแล้ว แม้จะออกตัวสารภาพผิดทีหลัง ก็ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกขุ.

อนุบัญญัติ

สมัยนั้น ภิกขุหลายรูป สำคัญผิดว่าตนได้บรรลุคุณพิเศษ จึงประกาศตนว่า เป็นพระอรหันต์ (พยากรณ์อรหัตตผล) สมัยต่อมาจิตของเธอน้อมไปเพื่อราคะ โทสะ โมหะ ก็เกิดความรังเกียจ สงสัยว่า การประกาศตนว่าได้บรรลุคุณวิเศษ ด้วยความสำคัญผิด จะทำให้ต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่ ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติเพิ่มเติม ยกเว้นให้สำหรับภิกขุผู้สำคัญว่าได้บรรลุ

องค์แห่งอาบัติ

1.อุตตริมนุสสธัมม์ไม่มีในตน
2.อวดด้วยมุ่งลาภ สรรเสริญ
3.ไม่อ้างผู้อื่น
4.บอกแก่ผู้ใดผู้นั้นเป็นชาติมนุษย์
5.เขารู้ด้วยความในขณะนั้น

พร้อม ด้วยองค์ 5 ดังนี้ จึงเป็นปาราชิก (บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 130).

Tatiyapārājikasikkhāpada

3.Tatiyapārājikasikkhāpada 

ห้ามภิกขุฆ่ามนุษย์หรือชักชวนให้ฆ่าตัวตาย

Tatiyapārājikasikkhāpada
(สิกขาบท: ตติยะปาราชิกะ)

ปาราชิกสิกขาบทที่ 3
ขาดจากความเป็นภิกขุเพราะฆ่ามนุษย์ให้ตาย

“Yo pana bhikkhu sañcicca manussaviggahaṃ jīvitā voropeyya satthahārakaṃ vāssa pariyeseyya, ayampi pārājiko hoti asaṃvāso”ti.
Mahāsaṅgīti Tipiṭaka Buddhavasse 2500
1V:391-391 Creative Commons License

โย ปะนะ ภิกขุ สัญจิจจะ มะนุสสะวิคคะหัง ชีวิตา…

“อนึ่ง ภิกขุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัสตราอันจะปลิดชีวิตให้แก่กายมนุษย์นั้น หรือพรรณาคุณแห่งความตาย หรือชักชวนเพื่ออันตราย ด้วยคำว่า แน่ะนายผู้เป็นชายจะประโยชน์อะไรแก่ท่าน ด้วยชีวิตอันแสนลำบาก ยากแค้นนี้ท่านตายเสียดีกว่าเป็นอยู่ดังนี้ เธอมีจิตอย่างนี้ มีใจอย่างนี้ มีความหมายหลายอย่าง อย่างนี้ พรรณนาคุณในความตายก็ดี ชักชวนเพื่ออันตายก็ดีโดยหลายนัย แม้ภิกขุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.”

วิภังค์ (จำแนกความ)

บทว่า พรรณนาคุณในความตายก็ดี ได้แก่แสดงโทษในความเป็นอยู่ พรรณนาคุณในความตายว่า ท่านตายจากโลกนี้แล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ จักได้รับบำเรอเพียบพร้อมอิ่มเอิบด้วยเบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ ในสุคติโลกสวรรค์นั้น.

คำว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ศิลาหนาแตกสองเสี่ยงแล้วเป็นของกลับต่อให้ติดสนิทอีกไมได้แม้อันใด ภิกขุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิตแล้ว ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.

อนาบัติ

1.ภิกขุไม่จงใจ
2.ภิกขุไม่รู้
3.ภิกขุไม่ประสงค์จะให้ตาย
4.ภิกขุวิกลจริต
5.ภิกขุมีจิตฟุ้งซ่าน
6.ภิกขุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
7.ภิกขุอาทิกัมมิกะ เหล่านี้ไม่ต้องอาบัติแล.

เรื่องต้นบัญญัติ

พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เรือนยอด ป่ามหาวันใกล้กรุงเวสาลี พระองค์ได้ทรงแสดงอสุภกถา คือ ถ้อยคำปรารภสิ่งที่ไม่สวยงาม สรรเสริญคุณแห่งอสุภะและคุณแห่งการเจริญอสุภะ คือ การพิจารณาเห็นร่างกายโดยความเป็นของไม่งาม กับทั้งคุณแห่งอสุภสมาบัติ (การเข้าฌาน มีอสุภะเป็นอารมณ์) โดยปริยายเป็นอันมาก ครั้งแล้วตรัสว่า ทรงพระประสงค์จะหลีกเร้นอยู่ตามลำพังพระองค์ตลอดกึ่งเดือน ใครๆไม่พึงเข้าไปเฝ้า เว้นแต่ภิกขุผู้นำอาหารเข้าไปเพียงรูปเดียว.

ภิกขุทั้งหลาย ปฏิบัติอสุภภาวนา (คือ พิจารณาร่างกายโดยความเป็นของไม่งาม) ก็เกิดความอิดหนาระอาใจ รังเกียจด้วยกายของตน เหมือนชายหนุ่มหญิงสาวที่ชอบการประดับตกแต่ง อาบน้ำ ดำเกล้าแล้ว รังเกียจซากศพงู ซากศพสุนัข ซากศพมนุษย์ อันคล้องอยู่ที่คอ ฉะนั้น เมื่อเกิดความอิดหนาระอาใจ รังเกียจด้วยกายของตนอย่างนี้ ก็ฆ่าตัวตายบ้าง ฆ่ากันและกันบ้าง เข้าไปหานายมิคลัณฑิกะผู้แต่งตัวเหมือนสมณะ จ้างด้วยบาตรจีวรให้ฆ่าบ้าง โดยนัยนี้ นายมิคลัณฑิกะ ก็รับจ้างฆ่าภิกขุทั้งหลายวันละรูปหนึ่งบ้าง สองรูป, สามรูป, สี่รูป, ห้ารูป จนถึงหกสิบรูปบ้าง.

เมื่อครบกึ่งเดือนแล้ว เสด็จกลับจากที่เร้น ทรงทราบเรื่องนั้น จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงสั่งสอนอานาปานสติสมาธิ (คือการทำใจให้ตั้งมั่นโดยกำหนดลมหายใจเข้าออก) โดยปริยายต่าง ๆ แล้วทรงปรารภเรื่องภิกขุฆ่าตัวตาย ฆ่ากันและกัน รวมทั้งจ้างผู้อื่นให้ฆ่าตน ทรงติเตียนว่า

“ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย การกระทำของภิกขุเหล่านั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกขุเหล่านั้นจึงได้ ปลงชีวิตตนเองบ้าง วานกันและกันให้ปลงชีวิตบ้าง บางเหล่าก็เข้าไปหามิคลัณฑิกสมณกุตตก์ พูดอย่างนี้ว่า พ่อคุณ ขอท่านได้ช่วยปลงชีวิตพวกฉันที บาตรจีวรนี้จักเป็นของท่าน ดังนี้เล่า ดูก่อนภิกขุทั้งหลายการกระทำของภิกขุเหล่านั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว…”
แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามมิให้ภิกขุฆ่ามนุษย์หรือใช้ให้คนอื่นฆ่าทรงปรับอาบัติปาราชิกแก่ผู้ล่วงละเมิด.

อนุบัญญัติ

สมัยนั้นอุบาสกคนหนึ่งไม่สบาย ภิกขุฉัพพัคคีย์ (มีพวก 6) เกิดพอใจในภริยาของอุบาสกนั้น จึงพูดพรรณนาคุณแห่งความตาย อุบาสกนั้นเชื่อ ก็รับประทานแต่ของแสลง เป็นเหตุให้โรคกำเริบและตายด้วยโรคนั้น ภริยาของอุบาสกจึงติเตียน ยกโทษภิกขุฉัพพคีย์เหล่านั้น ความทราบถึงพระผู้มีพระภาคทรงเรียกประชุมสงฆ์ ไต่สวนได้ความเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงติเตียนว่า

“ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้พรรณนาคุณแห่งความตายแก่อุบาสกเล่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว…”

แล้วทรงบัญญัติเพิ่มเติม ห้ามการพรรณาคุณของความตาย หรือชักชวน เพื่อให้ตาย ว่าผู้ใดละเมิดต้องอาบัติปาราชิกด้วย.

องค์แห่งอาบัติ

1.สัตว์เป็นชาติมนุษย์
2.รู้อยู่ว่าสัตว์มีชีวิต
3.จิตประสงค์จะฆ่า
4.พยายามด้วยประโยคทั้ง6 อันใดอันหนึ่ง
5.สัตว์นั้นตายด้วยพยายามนั้น

พร้อมด้วยองค์5 ดังนี้ จึงเป็นปาราชิก (บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 128 )

Dutiyapārājikasikkhāpada

2.Dutiyapārājikasikkhāpada 

ห้ามภิกขุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้

Dutiyapārājikasikkhāpada

(สิกขาบท: ทุติยปาราชิกะ)
ปาราชิกสิกขาบทที่ 2
ขาดความเป็นภิกขุเพราะลักขโมย

“Yo pana bhikkhu gāmā vā araññā vā adinnaṃ theyyasaṅkhātaṃ ādiyeyya, yathārūpe adinnādāne rājāno coraṃ gahetvā haneyyuṃ vā bandheyyuṃ vā pabbājeyyuṃ vā— ‘corosi bālosi mūḷhosi thenosī’ti, tathārūpaṃ bhikkhu adinnaṃ ādiyamāno ayampi pārājiko hoti asaṃvāso”ti. (2:2)
Mahāsaṅgīti Tipiṭaka Buddhavasse 2500
1V:210-210 Creative Commons License

โย ปะนะ ภิกขุ คามา วา อะรัญญา วา อะทินนัง…

“อนึ่ง ภิกขุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี พระราชาทั้งหลายจับโจรได้แล้ว ประหารเสียแล้ว จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้างด้วยบริภาษว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย ดังนี้ ในเพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด ภิกขุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกขุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.”
วิภังค์ (จำแนกความ)

ที่ชื่อว่า ทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ มีอธิบายว่า ทรัพย์ใดอันเจ้าของไม่ได้ให้ ไม่ได้ละวาง ยังรักษาปกครองอยู่ ยังถือกรรมสิทธิ์อยู่ว่าเป็นของเรา ยังมีผู้อื่นหวงแหน ทรัพย์นั้นชื่อว่าทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้

บทว่า ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย ได้แก่ มีจิตคิดขโมย คือมีจิตคิดลัก.

บทว่า ถือเอา คือ ยึดเอา เอาไป เอาลง ยังอิริยาบถให้กำเริบ ให้เคลื่อนจากฐาน ให้ล่วงเลยเขตหมาย.
ที่ชื่อว่า เห็นปานใด คือ หนึ่งบาทก็ดี ควรแก่หนึ่งบาทก็ดี เกินกว่าหนึ่งบาทก็ดี

คำว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ใบไม้เหลืองหล่นจากขั้นแล้ว ไม่อาจจะเป็นของเขียวสดขึ้นได้ แม้ฉันใดภิกขุก็ฉันนั้นแหละ ถือเอาทรัพย์อันเขาไมได้ให้ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย หนึ่งบาทก็ดี ควรแก่หนึ่งบาทก็ดี เกินกว่าหนึ่งบาทก็ดี แล้วไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้นการ กระทำผิดตามสิกขาบทดังกล่าวจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก

อนาบัติ

1.ภิกขุมีความสำคัญว่าเป็นของตน 2.ถือเอาด้วยวิสาสะ 3.ขอยืม 4.ทรัพย์อันเปรตหวงแหน 5.ทรัพย์อันสัตว์ดิรัจฉานหวงแหน 6.ภิกขุมีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล 7.ภิกขุวิกลจริต 8.ภิกขุอาทิกัมมิกะ เหล่านี้ ไม่ต้องอาบัติ.

เรื่องต้นบัญญัติ

พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์. ครั้งนั้นภิกขุหลายรูปที่เป็นมิตรสหายกันได้ทำกุฎีหญ้า อยู่จำวัสสาข้างภูเขาอิสิคิลิ. ท่านพระธนิยะ ผู้เป็นบุตรแห่งช่างหม้อ ก็ทำกุฎีหญ้า จำวัสสาอยู่ ณ ที่นั้นด้วย. ภิกขุอื่น ๆ เมื่อออกวัสสาก็รื้อกุฎีหญ้า เก็บหญ้า เก็บไม้ แล้วจาริกไปสู่ชนบท.ส่วนพระธนิยะคงอยู่ในที่นั้นไม่ไปไหนตลอด 3 ฤดู ขณะที่เข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน พวกคนเก็บหญ้า เก็บไม้ มารื้อกุฎี นำหญ้าและไม้ไป ท่านต้องทำใหม่ แต่พวกนั้นก็มารื้อ ขโมยหญ้าและไม้ไปอีกถึง 3 ครั้ง ท่านพระธนิยะจึงคิดสร้างกุฎีดิน เพราะเป็นผู้ชำนาญในการผสมดินปั้นหม้อมาก่อน เมื่อตกลงใจดังนั้นจึงเอาดินเหลวมาขยำ แล้วทำเป็นกุฎีดินล้วนเอาหญ้าไม้และมูลโคมาสุมกุฏีที่ทำไว้แล้วให้เป็นกุฏี ดินเผาสวยงาม มีสีแดงดั่งตัวแมลงทับ ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จทอดพระเนตรเห็นกุฏีงดงาม ตรัสถามพวกภิกขุว่าเป็นอะไร ทรงทราบแล้วทรงติเตียนว่า

“ไฉนโมฆบุรุษนั้นจึงได้ขยำโคลนทำกุฎีสำเร็จด้วยดินล้วนด้วยตนเองเล่า ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ ความไม่เบียดเบียนหมู่สัตว์ มิได้มีแก่โมฆบุรุษนั้นเลย พวกเธอจงทำลายกุฎีนั้น พวกเพื่อนพรหมจารีชั้นหลัง อย่าถึงความเบียดเบียนหมู่สัตว์เลย อันภิกขุไม่ควรทำกุฎีที่สำเร็จด้วยดินล้วน ภิกขุใดทำต้องอาบัติทุกกฏ.”

กาลต่อมาท่านพระธนิยะ เข้าไปหาคนเฝ้าโรงเก็บไม้ของหลวง เล่าความให้ฟังถึงเรื่องที่คนรื้อกุฎีหญ้า ขโมยหญ้าและไม้ไปถึง 3 ครั้ง ท่านจึงคิดทำกุฎีดินเผา ก็ถูกสั่งให้ทำลายเสีย จึงมาขอไม้จากคนเฝ้าโรงเก็บไม้ของหลวง คนเฝ้าปฏิเสธว่า “ตนไม่มีไม้ที่จะให้ได้ มีแต่ไม้ที่เป็นของพระราชาหวงแหน เพื่อใช้ซ่อมพระนคร เก็บไว้ในคราวมีอันตราย ถ้าพระราชาพระราชทาน ก็นำไปได้.”

พระธนิยะตอบว่า “พระราชาพระราชทานแล้ว” คนเฝ้าโรงไม้เชื่อว่าเป็นพระคงไม่พูดปด จึงอนุญาตให้นำไป ท่านพระธนิยะก็นำไม้มาตัดเป็นท่อนเล็กท่อนน้อยใส่เกวียนขนไปทำกุฎีไม้.
เมื่อวัสสการพราหมณ์อำมาตย์ผู้ใหญ่แห่งมคธรัฐ มาตรวจพบว่าไม้หายไป จึงไต่สวน แล้วนำความกราบทูลพระเจ้าพิมพิสาร มีรับสั่งให้นำตัวคนเฝ้าโรงไม้เข้าไปเฝ้า เขาจึงถูกมัดนำตัวไป ท่านพระธนิยะเห็นคนเฝ้าไม้ถูกมัด นำตัวไป จึงสอบถามได้ความแล้ว ก็ตามไปด้วย.

พระเจ้าพิมพิสารถวายนมัสการท่านพระธนิยะ แล้วตรัสถามว่า “เป็นความจริงหรือที่ว่า พระองค์ถวายไม้นั้น” ท่านพระธนิยะตอบว่า “เป็นความจริง” พระเจ้าพิมพิสาร ตรัสว่า พระองค์เป็นพระราชา มีกิจธุระมาก ถวายไปแล้ว อาจนึกไม่ออกก็ได้ ถ้าท่านพระธนิยะนึกออกก็ขอให้ชี้แจงมา.

ท่านพระธนิยะทูลถามว่า “ทรงระลึกได้หรือไม่ ที่ทรงเปล่งวาจาในวันอภิเษกเสวยราชย์ว่า หญ้า ไม้ และน้ำ เป็นอันข้าพเจ้าถวายแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ขอจงใช้สอยเถิด” ตรัสตอบว่าทรงระลึกได้ แต่ที่ตรัสอย่างนั้น ทรงหมายสำหรับสมณพราหมณ์ ผู้มีความละอาย ผู้มีความรังเกียจใคร่ต่อการศึกษา ผู้เกิดความรังเกียจแม้ในความชั่วเพียงเล็กน้อย และทรงหมายถึงสิ่งของที่ไม่มีใครหวงแหนในป่า ท่านถือเอาไม้ที่มิได้ให้ด้วยเลศนี้ คนอย่างพระองค์จะพึงฆ่า จองจำหรือเนรเทศ สมณะหรือพราหมณ์ได้อย่างไร? ท่านจงไปเถิด ท่านพ้นเพราะเพศ (บรรพชิต) ต่อไปอย่าทำอย่างนี้อีก.

มนุษย์ทั้งหลายพากันติเตียนด้วยประการต่าง ๆ ความทราบถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวน เมื่อพระธนิยะ รับเป็นสัตย์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า

“ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน เธอจึงได้ถือเอาไม้ของหลวงที่เขาไม่ได้ให้ไปเปล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว”

ทรงตรัสถามภิกขุผู้เคยเป็นมหาอำมาตย์ผู้พิพากษา ซึ่งเข้ามาบวชว่า พระเจ้าพิมพิสารทรงจับโจรได้แล้วทรงประหารชีวิต จองจำหรือเนรเทศด้วยกำหนดทรัพย์เท่าไร? ก็เท่ากับ 5 มาสก จึงทรงบัญญัติสิกขาบทมิให้ภิกขุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ ผู้ใดทำเช่นนั้น ได้ราคาที่พระราชาจับโจรได้ประหารชีวิต จองจำ หรือเนรเทศ ต้องอาบัติปาราชิก.

อนุบัญญัติ (ข้อบัญญัติเพิ่มเติม)

สมัยนั้น ภิกขุฉัพพัคคีย์(พวก 6 คือเป็นพวกร่วมใจกัน 6 รูป) ไปที่ลาน(ตากผ้า) ของช่างย้อม ขโมยห่อผ้าของช่างย้อมนำมาแบ่งกัน ความทราบถึงภิกขุทั้งหลาย เธอแก้ตัวว่า ไปลักในป่า ไม่ได้ลักในบ้าน สิกขาบทที่บัญญัติมุ่งหมายถึงลักในบ้าน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติเพิ่มเติมว่าลักของจากบ้านก็ตาม จากป่าก็ตาม.

องค์แห่งอาบัติ

1.เป็นของผู้อื่นเป็นชาติมนุษย์หวงแหนอยู่
2.สำคัญรู้ว่า เป็นของผู้อื่นหวงอยู่
3.ของนั้นราคาบาทหนึ่งหรือราคากว่าบาทหนึ่งขึ้นไป
4.จิตเป็นขโมย
5.ลักได้ด้วยอวหาร (อาการที่ถือว่าเป็นลักทรัพย์) อย่างใด อย่างหนึ่ง

พร้อมด้วยองค์ 5 นี้ จึงเป็นปาราชิก (บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 124).

1.Pārājikapāḷi ปาราชิกะปาฬิ

1.Pārājikapāḷi ปาราชิกะปาฬิ

ว่าด้วยอาบัติปาราชิก(ผู้พ่ายแพ้) มี 4 สิกขาบท
ละเมิดเข้าแล้วต้องขาดจากความเป็นภิกขุ แม้สึกไปแล้วจะมาบวชใหม่อีก ก็ไม่ได้

1.Paṭhamapārājikasikkhāpada ห้ามภิกขุเสพเมถุน

Paṭhamapārājikasikkhāpada
(สิกขาบท: ปฐมปาราชิกะ)
ปาราชิกสิกขาบทที่ 1
ขาดจากความเป็นภิกขุเพราะเสพเมถุน
โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันโน…

“Yo pana bhikkhu methunaṃ dhammaṃ paṭiseveyya, pārājiko hoti asaṃvāso”ti.
Mahasangīti Tipiṭaka Buddhavasse 2500
1V:72 – 1V:72
Creative Commons License

“อนึ่ง ภิกขุใดถึงพร้อมซึ่งสิกขาบทและสาชีพของภิกขุทั้งหลายแล้ว ไม่บอกคืนสิกขาไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธัมม์โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมียเป็นปาราชิกหาสังวาสมิ ได้.”

วิภังค์ (จำแนกความ)

คำว่า ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง ทรงอธิบายไว้ว่า ภิกขุทั้งหลาย การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืนก็มี ภิกขุทั้งหลาย การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาเป็นอันบอกคืนก็มี. ภิกขุในธัมมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมถะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกขุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า …ดูก่อนภิกขุุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน…

ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นคฤหัสถ์…ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วย พระพุทธเจ้า…ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระพุทธเจ้า…ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระ พุทธเจ้า…ภิกขุย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบด้วยไวพจน์เหล่านั้น อันเป็นอาการเป็นลักษณะเป็นนิมิต. ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

ที่ชื่อว่า เมถุนธัมม์ มีอธิบายว่า ธัมมะของอ สัตบุรุษ ประเพณีของชาวบ้าน มารยาทของคนชั้นต่ำ ธัมมะอันชั่วหยาบ ธัมมะอันมีน้ำเป็นที่สุด กิจที่ควรซ่อนเร้น ธัมมะอันคนเป็นคู่ๆ พึงประพฤติร่วมกัน นี้ชื่อว่า เมถุนธัมม์.

ที่ชื่อว่า เสพ ความว่า ภิกขุใดสอดนิมิตเข้าไปทางนิมิต สอดองค์กำเนิดเข้าไปทางองค์กำเนิด โดยที่สุดแม้ชั่วเมล็ดงา ภิกขุนั้นชื่อว่า เสพ.

คำว่า เป็นปาราชิก ความว่า บุรุษถูกตัดศีรษะแล้ว ไม่อาจมีสรีระคุมกันนั้นเป็นอยู่ ชื่อแม้ฉันใด ภิกขุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เสพเมถุนธรรมแล้วย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.

ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่ กัมม์ที่พึงทำร่วมกัน อุเทส ที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกขุนั้น เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.

อนาบัติ (ลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติ)

1. ภิกขุไม่รู้สึกตัว 2. ภิกขุวิกลจริต 3. ภิกขุมีจิตฟุ้งซ่าน 4. ภิกขุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา 5. ภิกขุอาทิกัมมิกะ (ภิกขุผู้เป็นต้นบัญญัติ) เหล่านี้ไม่ต้องอาบัติ.

เรื่องต้นบัญญัติ

สมัยนั้นมีหมู่บ้านนามว่ากลันทะ ตั้งอยู่ไม่ไกลเมืองเวสาลี มีบุตรเศรษฐีผู้เป็นบุตรชาวกลันทะ นามว่าสุทินนะ. สุทินนะพร้อมด้วยสหายไปสู่กรุงเวสาลีเห็นพระพุทธเจ้ากำลังแสดงธรรม จึงแวะเข้าไปสดับธรรมมีความเลื่อมใสใคร่จะออกบวช จึงกราบทูลขอบวชในพระพุทธศาสนา แต่พระศาสดายังไม่ประทานอนุญาตให้บวช เพราะมารดาบิดายังไม่อนุญาต สุทินนะจึงกลับไปขออนุญาตท่านมารดาบิดา แต่ไม่ได้รับอนุญาต จึงอ้อนวอนถึง 3 ครั้ง ก็ไม่ได้รับอนุญาตเช่นเดิม สุทินนะจึงนอนลงกับพื้นอดอาหารถึง 7 วัน มารดา บิดาอ้อนวอนให้ล้มความตั้งใจก็ไม่ยอม พวกเพื่อน ๆ มาอ้อนวอน ก็ไม่ยอม ในที่สุดพวกเพื่อน ๆ อ้อนวอนให้มารดาบิดาของสุทิืนนะอนุญาต ก็ได้รับอนุญาต เมื่อได้รับอนุญาตแล้วก็ออกบวช ประพฤติปฏิบัติเคร่งครัดอยู่ทางวัชชีคาม.

ครั้งนั้น แคว้นวัชชี (ซึ่งมี กรุงเวสาลี เป็นราชธานี) เกิดทุพภิกขภัย พระสุทินนะ มีญาติเป็นคนมั่งคั่งมาก เมื่อเดิืนทางไปถึงกรุงเวสาลี ญาติ ๆ ทราบข่าวก็นำอาหารมาถวายเหลือเฟือ พระสุทินนะก็ถวายแก่ภิกขุทั้งหลายอีกต่อหนึ่ง แล้วเดินทางไปกลันทคาม (ตำบลบ้านเดิมของตน) ความทราบถึงมารดาบิดา บิดาจึงนิมนต์ไปฉัน มารดาก็นำทรัพย์สมบัติมาล่อเพื่อให้สึก พระสุทินนะไม่ยอมจึงไม่สำเร็จ ต่อมามารดาพระสุทินนะชวนให้สึกอีกพระสุทินนะไม่ยอม มารดาจึงกล่าวว่าถ้าไม่สึกก็ขอพืชพันธุ์ไว้สืบสกุล ครั้งนั้นยังไม่มีการบัญญัติวินัยห้ามเสพเมถุน พระสุทินนะเข้าใจว่าเป็นเรื่องพอทำได้ เพื่อให้มีบุตรสืบสกุล จึงเสพเมถุนกับอดีตภริยาของตน ถึง 3 ครั้ง นางก็มีท้องเพราะเหตุนี้.

พระสุทินนะ เกิดความไม่สบายใจขึ้นภายหลัง ถึงขนาดซูบผอม ภิกขุทั้งหลายถามทราบความ จึงพากันติเตียน และนำความกราบทูลพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกขุสงฆ์เพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้่วทรงสอบถามภิกขุนั้น ได้ทูลรับตามความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติืเตียนว่า

“ดูก่อนโมฆบุรุษ ธัมมะอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลายความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพรากมิใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมีความถือมั่นมิใช่หรือ? เมื่อธัมมะชื่่อนั้น อันเราแสดงแล้วเพื่อคลายความกำหนัด เธอยังจักคิดเพื่อมีความกำหนัด เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจักคิดเพื่อความประกอบ เราแสดงเพื่อความไม่ถือมั่น เธอยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น.

ดูก่อนโมฆบุรุษ ธัมมะอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยายเพื่อเป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อเป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความกระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัย เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่ดับแห่งตัณหา เพื่อออกไปจากตัณหาชื่อวานะ (เครื่องร้อยรัด) มิใช่หรือ?

ดูก่อนโมฆบุรุษ องค์กำเนิด อันเธอสอดเข้าไปในปากอสรพิษที่มีพิษร้ายยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของมาตุคามไม่ดีเลย องค์กำเนิดอันเธอสอดเข้าในปากงูเห่ายังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าไปในองค์กำเนิดของมาตุคาม ไม่ดีเลย องค์กำเนิดอันเธอสอดเข้าในหลุมถ่านที่ไฟติดลุกโชนยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของมาตุคาม ไม่ดีเลย.

ข้อที่เราว่าดีนั้น เพราะเหตุไร? เพราะบุคคลผู้สอดองค์กำเนิดเข้าในปากอสรพิษเป็นต้นนั้น พึงถึงความตาย หรือความทุกข์เจียนตาย ซึ่งมีการกระทำนั้นเป็นเหตุ และเพราะการกระทำนั้นเป็นปัจจัย เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนบุคคลผู้ทำการสอดองค์กำเนิดเข้าไปในองค์กำเนิดของมาตุคามนั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายกายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก ซึ่งมีการกระทำนี้เป็นเหตุ.

ดูก่อนโมฆบุรุษ เมื่อการกระทำนั้น มีโทษอยู่ เธอยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธัมม์ อันเป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นมารยาทของคนชั้นต่ำอันชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด มีในที่ลับ เป็นของคนคู่ อันคนคู่พึงร่วมกันเป็นไป เธอเป็นคนแรกที่กระทำอกุศลธัมมะ เป็นหัวหน้าของคนเป็นอันมาก

การกระทำของเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของเธอนั้น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว…”

ทรงตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสมการปรารถนาความเพียร โดยอเนกปริยาย.


อำนาจประโยชน์ 10 ประการในการบัญญัติสิกขาบท

ทรงกระทำธัมมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้นแก่ภิกขุทั้งหลาย แล้วทรงรับสั่งกับภิกขุทั้งหลายว่า

“ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกขุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ
  1. เพื่อความดีงามที่เป็นไปโดยความเห็นชอบร่าวมกันของสงฆ์
  2. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
  3. เพื่อกำราบคนหน้าด้านไม่รู้จักอาย
  4. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกขุผู้มีศีลดีงาม
  5. เพื่อปิดกั้นความเสื่อมเสีย ความทุกข์ ความเดือดร้อนที่จะมีในปัจจุบัน
  6. เพื่อปิดกั้นความเสื่อมเสียความทุกข์ ความเดือดร้อนที่จะมีในภายหลัง
  7. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
  8. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของคนที่เลื่อมใสแล้ว
  9. เพื่อความดำรงมั่นแห่งสัทธัมม์
  10. เพื่อส่งเสริมความเป็นระเบียบเรียบร้อย สนับสนุนวินัยให้หนักแน่น…
ทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามมิให้ภิกขุเสพเมถุน ทรงปรับอาบัติปาราชิกแก่ภิกขุ ผู้ล่วงละเมิด

อนุบัญญัติ (ข้อบัญญัติเพิ่มเติม)

ต่อมามีภิกขุวัชชีบุตร ชาวกรุงเวสาลี เข้าใจว่าห้ามเฉพาะเสพเมถุนกับมนุษย์ จึงเสพเมถุนด้วยนางลิง ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติเพิ่มเติมให้ชัดขึ้นว่าห้ามแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย.
ภิกขุ เสพเมถุนขาดจากความเป็นภิกขุแล้ว ภายหลังขอเข้าอุปสมบทอีก พระพุทธเจ้า จึงทรงบัญญัติมิให้อุปสมบทแก่ผู้เช่นนั้น.

องค์แห่งอาบัติ

1. จิตคิดจะเสพเมถุน
2. ยังองค์กำเนิดให้เข้าไปในทวารมรรค ถูกต้อง ณ ที่ใดที่หนึ่ง

พร้อมด้วยองค์ 2 ดังนี้ จึงเป็นปาราชิก (บุพพสิกขาวรรณาหน้า 112)

ภิกขุวิภังค์ ภาค 1 เวรัญชกัณฑ์

คัมภีร์ภิกขุวิภังค์
ภิกขุวิภังค์ ภาค 1 (พระวินัยปิฎก เล่ม 1)

เวรัญชกัณฑ์

เหตุให้พรหมจริยาตั้งมั่นหรือไม่ตั้งมั่น

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โคนไม้สะเดาใกล้เมืองเวรัญชาพร้อมด้วยภิกขุสงฆ์หมู่ใหญ่.
เวรัญชพราหมณ์ได้ทราบกิตติศัพท์สรรเสริญ จึงเข้าไปเฝ้าแต่มิได้ถวายบังคม หลังจากทักทายปราศรัยแล้ว ก็ได้กล่าวว่า ได้ข่าวเขาพูดว่า พระสมณโคดมไม่ยอมไหว้หรือลุกขึ้นต้อนรับพราหมณ์ผู้สูงอายุ การที่พระสมณโคดมทำเช่นนั้น ย่อมไม่สมควร พระพุทธเจ้าตรัสรับว่า พระองค์มิได้ไหว้พราหมณ์ผู้สูงอายุจริง เวรัญชพราหมณ์ จึงกล่าววาจารุกรานด้วยถ้อยคำที่ถือกันในสมัยนั้นว่า เป็นคำพูดหมิ่นเหยียดหยามรวม 8 ข้อ เช่น คำว่าพระสมณโคดมเป็นคนไม่มีรสชาติ, เป็นคนไม่มีสมบัติ, เป็นคนนำให้ฉิบหาย, เป็นคนเผาผลาญ เป็นต้น.  แต่พระผู้มีพระภาคทรงอธิบายคำเหยียดหยามนั้นไปในทางดี เช่นว่า ใครจะว่าไม่มีรสชาติก็ถูก เพราะท่านไม่ติดในรส คือ รูป เสียง เป็นต้น ใครจะว่าไม่มีสมบัติก็ถูก เพราะท่านไม่ติดสมบัติ คือ รูป เสียง เป็นต้น ใครจะว่า นำให้ฉิบหายก็ถูกเพราะท่านแสดงธัมม์ทำให้บาป อกุศล ทุกอย่างให้ฉิบหาย ใครจะว่าเป็นคนเผาผลาญก็ถูก เพราะท่านเผาผลาญบาป อกุศลอันเป็นที่ตั้งแต่งความเดือดร้อนทั้งหมด.

เมื่อตรัสตอบ แก้คำดูหมิ่นเหยียดหยามของพราหมณ์ตกทุกข้อโดยไม่ต้องใช้วิธีด่าตอบ หากใช้วิธีอธิบายให้เป็นธัมมสอนใจได้ดังนั้นแล้ว จึงตรัสอธิบายเหตุผลในการที่พระองค์ไม่ไหว้พราหมณ์ผู้สูงอายุ โดยเปรียบเทียบว่าลูกไก่ตัวไหนเจาะฟองไข่ออกมาได้ก่อน ลูกไก่ตัวนั้นควรนับว่าแก่กว่าลูกไก่ตัวอื่น พระองค์เจาะฟองไข่ คือ อวิชชาก่อนผู้อื่น จึงถือได้ว่าเป็นผู้แก่กว่าผู้อื่น. เวรัญชพราหมณ์ได้ฟังก็เลื่อมใส ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต แล้วกราบทูลอาราธนาให้ทรงจำพรรษาอยู่ในเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกขุสงฆ์ พระองค์ทรงรับโดยดุษณีภาพ.

ทรงสรรเสริญเหล่าภิกขุว่าเป็นผู้ชนะ แม้จะยากลำบาก ก็ไม่ทิ้งธัมม์

ในสมัยนั้น เมื่องเวรัญชาเกิดทุพภิกขภัย หาอาหารได้ยาก ถึงขนาดต้องใช้สลากปันส่วนอาหาร ผู้คนล้มตายกันกระดูกขาวเกลื่อน. ภิกขุทั้งหลายลำบากด้วยอาหารบิณฑบาต ได้อาศัยข้าวตากสำหรับเลี้ยงม้าจากพ่อค้าม้าที่พักแรมฤดูฝน ณ เมืองนั้น วันละ 1 ฝายมือต่อรูปมาตำให้ละเอียดฉัน พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญเหล่าภิกขุว่าเป็นผู้ชนะ (แม้จะยากลำบาก ก็ไม่ทิ้งธัมม์แสวงหาในทางที่ผิด เป็นตัวอย่างแก่หมู่ภิกขุในภายหลัง)     พระโมคคัลลานะ เสนอวิธีแก้ไขความอดอยากหลายประการ รวมทั้งการไปเที่ยวบิณฑบาตในที่อื่นแต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต.

เหตุที่ทำให้พรหมจริยา(พระศาสนา) ตั้งมั่น หรือ ไม่ตั้งมั่น

ส่วนพระสารีบุตร คำนึงถึงความตั้งมั่นแห่งพรหมจริยา จึงกราบทูลถามถึงเหตุที่ทำให้พรหมจริยาตั้งมั่น และไม่ตั้งมั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสแสดงว่า

" ดูก่อนสารีบุตร พระผุ้มีพระภาคพระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ มิได้ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงแสดงธัมม์โดยพิสดารแก่สาวกทั้งหลาย อนึ่ง สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธัมม์ เวทัลละ ของพระผู้มีพระภาคทั้งสามพระองค์นั้นมีมาก สิกขาบทก็ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ก็ทรงแสดงแก่สาวก เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงดำรงพระศาสนานั้นไว้ได้ตลอดระยะกาลยืนนาน ดูก่อนสารีบุตร ดอกไม้ต่างพรรณที่เขากองไว้บนพื้นกระดาน ร้อยดีแล้วด้วยด้าย ลมย่อมกระจายไม่ได้ ขจัดไม่ได้ กำจัดไม่ได้ ซึ่งดอกไม้เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเขาร้อยดีแล้วด้วยด้าย ฉันใด เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงดำรงพระศาสนานั้นไว้ได้ ตลอดระยะกาลยืนนาน ฉันนั้นเหมือนกัน”

และตรัสว่า การไม่ทำดังนั้นเป็นเหตุให้พรหมจริยาดำรงอยู่ไม่นาน. ทูลขอให้บัญญัติสิกขาบทแสดงปาติโมกข์เพื่อความตั้งมั่นแห่งพรหมจริยา   พระสารีบุตรจึงกราบทูลขอให้ทรงบัญญัติสิกขาบท เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระศาสนา พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

“จงรอก่อน สารีบุตร จงยับยั้งก่อนสารีบุตร ตถาคตผู้เดียวจักรู้กาลในกรณีย์นั้น พระศาสดายังไม่บัญญัติสิกขาบท ยังไม่แสดงปาติโมกข์แก่สาวก ตลอดเวลาที่ธัมม์อันเป็นที่ตั้งอาสวะบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้  

ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โตเพราะตั้งมานาน…

ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โตเพราะแผ่ไปเต็มที่…

ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เพราะเจริญด้วยลาภ…

และอาสวัฏฐานนิยธัมม์บางเหล่า ย่อมปรากฎในสงฆ์ในศาสนานี้   เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวกเพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธัมม์เหล่านั้นแหละ.

ดูก่อนสารีบุตรก็ภิกขุสงฆ์ไม่มีเสนียด ก็ล้วนไม่มีโทษ ปราศจากมัวหมองบริสุทธิ์ผุดผ่องตั้งอยู่ในสารคุณ เพราะบรรดาภิกขุ 500 รูปนี้ ภิกขุที่ทรงคุณธัมม์อย่างต่ำ ก็เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธัมม์ดาเป็นผู้ไม่เที่ยง เป็นผู้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.”

เมื่อออกพรรษาแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงชวนพระอานนท์ไปบอกเวรัญชพราหมณ์ ในฐานะผู้นิมนต์ให้จำพรรษา เวรัญชพราหมณ์ นิมนต์พระองค์พร้อมทั้งภิกขุสงฆ์ฉันในวันรุ่งขึ้น ทรงรับนิมนต์และไปฉันตามกำหนดแล้วแสดงธัมม์โปรดเวรัญชพราหมณ์ แล้วเสด็จจาริกไปสู่เมืองโสเรยยะ เมืองสังกัสส์ เมืองกัณณกุชชะ โดยลำดับ เสด็จข้ามลำน้ำคงคาที่ชื่อปยาคะ ไปสู่กรุงพาราณสี จากพาราณสีสู่เวสาลี ประทับ ณ เรือนยอดในป่ามหาวัน



อาทิพรหมจริยกาสิกขา

อาทิพรหมจริยกาสิกขา : บทศึกษาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
สิกขาบทที่เป็นประธานเป็นแม่บท
หรือสิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์
สงฆ์ยกขึ้นแสดง ทุกกึ่งเดือน

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ariyavinaya

ประมวลพุทธบัญญัติอริยวินัยจากพระไตรปิฎกนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติ ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตและวิธีดำเนินกิจการต่างๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์

ที่เรียกว่า พระวินัย ซึ่งเป็นพุทธบัญญัติ แบ่งออกได้สองส่วน คือ

อาทิพรหมจริยกาสิกขา หมายถึง หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายบทบัญญัติ หรือข้อปฏิบัติอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เป็นพุทธอาณา เพื่อป้องกันความประพฤติเสียหายและวางโทษแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดโดยปรับอาบัติหนักบ้าง เบาบ้าง พระสงฆ์สวดทุกกึ่งเดือน เรียกว่า พระปาติโมกข์  และส่วน อภิสมาจาริกาสิกขา หมายถึง หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายขนมธรรมเนียมเกี่ยวกับมรรยาท และความเป็นอยู่ที่ดีงามสำหรับชักนำความประพฤติ ความเป็นอยู่ของสงฆ์ให้ดีงาม มีคุณค่า น่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งขึ้นไปพระวินัยนั้น พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงบัญญัติล่วงหน้า ต่อเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น จึงทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามประพฤติเช่นนั้นอีก ดังจะเห็นได้ว่าในตอนต้นพุทธกาล คือตั้งแต่พรรษาที่ 1 ถึงพรรษาที่ 11 พระพุทธเจ้ายังไม่ได้ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แน่นอน เพราะภิกษุสงฆ์ล้วนมีวัตรปฏิบัติดีงามตามแบบอย่าง ที่พระพุทธเจ้าทรงประพฤติปฏิบัติมาต่อมา หลังจากออกพรรษาที่ 12 นี้แล้วพระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ 1 ห้ามภิกษุเสพเมถุน โดยปรารภเหตุการณ์มัวหมองในคณะสงฆ์ อันเนีื่องมาจากการที่พระสุทินเสพเมถุนกับอดีตภรรยาที่ป่ามหาวันกรุงเวสาลี การที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัิติครั้งนี้นับเป็นครั้งแรก และทรงบัญญัติเรื่อยมาทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์ไม่ดีงามขึ้นในคณะสงฆ์
ในการบัญญัติสิกขาบทแต่ละครั้งมีขั้นตอน ดังนี้คือ เมื่อเกิดเรื่องมัวหมองขึ้นภายในคณะสงฆ์ พระพุทธเจ้าตรัสสั่งให้ประชุมสงฆ์ ตรัสถามภิกษุผู้ก่อเหตุให้ทูลรับแล้ว ทรงชี้โทษแห่งการประพฤติเช่นนั้น และตรัสอานิสงส์แห่งความสำรวมระวัง แล้วจึงทรงตั้งพระบัญญัติห้ามมิให้ภิกษุทำอย่างนั้นอีกต่อไป ทรงกำหนดโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือล่วงละเมิด เรียกว่า ปรับอาบัติ  คำว่า อาบัติ แปลว่า การต้อง (ความผิด) การล่วงละเมิด คำนี้เป็นชื่อเรียกกิริยาที่ล่วงละเมิดสิกขาบทนั้น ๆ และเป็นชื่อเรียกโทษหรือความผิดที่เกิดจากการล่้วงละเมิดสิกขาบท เช่น ภิกษุกล่าวอุตตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน ต้องอาบัติปาราชิก เป็นต้น

อาบัติมี 7 กองคือ
  1. ปาราชิก (แปลว่า ผู้พ่ายแพ้)
  2. สังฆาทิเสส (แปลว่า อาบัติอันจำปรารถนาสงฆ์ ในกรรมเบื้องต้นและกรรมที่เหลือ)
  3. ถุลลัจจัย (แปลว่า การล่วงละเมิดที่หยาบ)
  4. ปาจิตตีย์ (แปลว่า การละเมิดที่ยังกุศลให้ตก)
  5. ปาฎิเทสนียะ (แปลว่า ทำไม่ดี)
  6. ทุกกฏ (แปลว่า ทำไม่ดี)
  7. ทุพภาสิต (แปลว่า พูดไม่ดี)
อาบัติปราราชิกมีโทษหนัก ทำให้ผู้ล่วงละเมิดขาดจากความเป็นภิกษุ

อาบัติสังฆาทิเสสมีโทษหนักน้อยลงมา ผู้ล่วงละเมิดต้องอยู่กรรมคือ ประพฤติวัตรตามที่ทรงบัญญัติ จึงจะพ้นจากอาบัตินี้
ส่วนอาบัติ 5 กองที่เหลือมีโทษเบา ผู้ล่วงละเมิดต้องประกาศสารภาพผิด ต่อหน้าภิกษุด้วยกัน ดังที่เรียกว่า  ปลงอาบัติ ( มีรายละเีอียดวิธีในภาคผนวก หน้า 418 – 419 ) จึงจะพ้นอาบัติเหล่านี้
บทบัญญัิติในพระวินัยแต่ละข้อหรือมาตรา เรียกว่า สิกขาบท แปลว่า ข้อที่ต้องศึกษา…
พระวินัยปิฎก ในพระไตรปิฎกมีการแบ่งออกเป็น 5 คัมภีร์ 8 เล่้มดังนี้
 
1. คัมภีร์ภิกขุวิภังคหรือ มหาวิภังค์ ว่าด้วยบทบัญญัติสำหรับภิกษุ 227 สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์ เป็นประธานแม่บท สงฆ์ยกขึ้นทบทวนทุกกึ่งเดือนแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้




ภิกขุวิภังค์ ภาค1 พระวินัยปิฏก เล่ม 1 ว่าด้วยปาราชิก 4 สังฆาทิเสส 13 อนิยต 2

ภิกขุวิภังค์ ภาค2 พระวินัยปิำฎก เล่ม 2 ว่าด้วยนิสสัคคิยปาจิตตีย์ (ปาจิตตีย์ที่ต้องสละของก่อนจึงปลงอาบัติได้) 30 ปาจิตตีย์ 92 ปาฏิเทสนียะ 4 เสขิยะ 35 อธิกรณสมถะ (วิธีระงับเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วสงฆ์ตัองจัดต้องทำ) 7

2. คัมภีร์ภิกขุนีวิภังค์ พระวินัยปิฎก เล่ม 3    ว่าด้วยบทบัญญัติสำหรับภิกษุณี 311 สิกขาบท ที่มาในภิกขุณีปาติโมกข์ส่วนที่ไม่ซ้ำกับของภิกษุ (มิำได้นำมาประมวลไว้ในหนังสือนี้)   สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์นั้นปรับอาบัติแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดไว้ครบทุกอาบัติ คือระบุอาบัติโดยตรง 4 กอง ได้แก่อาบัติ ปาราชิก, สังฆาทิเสส, ปาจิตตีย์ (ทั้งนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ที่ต้องสละของเสียก่อนจึงปลงอาบัติ และ สุทธิกปาจิตตีย์) และปาฏิเทสนีย์ มีอาบัติที่ไม่ได้ระบุไว้โดยตรงอีก 3 กอง ซึ่งเป็นความผิดของสิกขาบทในพระปาติโมกข์บางข้อ ที่ทรงปรับโทษแบบลดระดับในกรณีที่มีการกระทำผิด ในลักษณะที่แตกต่างออกไปจากสิกขาบทที่บัญญัติไว้เพียงเล็กน้อย ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย, อาบัติทุกกฏ, อาบัติทุพภาสิต
สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์เหล่านี้ ยกเว้นอนิยตและเสขิยะจัดเป็นอาิทิพรหมจริยกาสิขา ส่วนอนิยต เสขิยะ และสิกขาบทจำนวนมากที่มานอกพระปาติโมกข์ล้วนเป็น อภิสมาจาริกาสิกขา มีทั้งที่ทรงบัญญัติเป็นข้อห้ามและข้ออนุญาต ในกรณีที่เป็นข้อห้าม ถ้าภิกษุล่วงละเมิดไม่ปฏิบัิติตามทรงปรับอาบัติทุกกฏ ปรับตามควร เช่น ปาจิตตีย์ หรือปรับสูงขึ้นไปถึงถุลลัจจัย


3. คัมภีร์มหาวรรค แปลว่า วรรคใหญ่ คือว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวกับสงฆ์ที่เป็นเรื่องสำคัญ ๆ และต้องทำเสมอ แบ่งเป็น 2 ภาค รวม 10 ขันธ์

มหาวรรค ภาค 1 พระวินัยปิฎก เล่ม 4 มี 4 ขันธ์ หรือ มหาขันธ์ : หมวดว่าด้วยเรื่องสำคัญ เหตุการณ์ตั้งแต่ตรัสรู้, อุโบสถขันธ์ : หมวดว่าด้วยอุโบสถ, วัสสูปนายิกาขันธ์ : ว่าด้วยการเข้าพรรษา, ปวารณาขันธ์ : ว่าด้วยการให้ภิกษุอื่นตักเตือนได้.

มหาวรรค ภาค 2 พระวินัยปิฎก เล่ม 5 มี 6 ขันธ์ คือ จัมมขันธ์ : ว่าด้วยหนัง เรื่องรองเท้า ยานพาหนะ, เภสัชชขันธ์ : ว่าด้วยเรื่องเภสัช ปานะ การเก็บอาหาร, กฐินขันธ์ : ว่าด้วยเรื่องกฐิน,จีวรขันธ์ : ว่าด้วยเรื่องจีวรการใช้ผ้า, จัมเปยยขันธ์ : ว่าด้วยเหตุการณ์ในกรุงจัมปา ว่าด้วยการลงโทษของสงฆ์ต่างๆ, โกสัมพิขันธ์ : ว่าด้วยเรื่องเหตุการณ์ในกรุงโกสัมพี ส่วนใหญ่กล่าวถึงเรื่องสงฆ์ แตกสามัคคีกัน แล้วทรงแสดงวิธีปรองดองของสงฆ์ในทางวินัย

4. คัมภีร์จุลวรรค แปลว่า วรรคเล็ก หมายถึงวรรคที่ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด นอกจากบทบัญญัติที่มาในพระปาติโมกข์ แบ่งเป็น 2 ภาค รวม 12 ขันธ์

จุลวรรค ภาค 1 พระวินัยปิฎก เล่ม 6 เนื้อหาเกือบทั้งหมดไม่ได้ว่าด้วยบทบัญญัติที่เป็นข้อห้าม แต่ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ทางกระบวนการสงฆ์ ที่จะจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในสงฆ์ มี 4 ขันธ์ คือ กัมมขันธ์ : ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการลงโทษ เพื่อแก้ไขทิฏฐิพฤติกรรมของภิกษุอันเกิดในสงฆ์ ที่เกิดเพราะเหตุมรรคหรือปฏิปทา, ปาริวาสิกขันธ์ : ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับปริวาสกรรม, สมุจจยขันธ์ : ประมวลวิธีเพื่อออกจากอาบัติสังฆาทิเสส, สมถขันธ์ : ขยายความวิธีระงับอธิกรณ์
เรื่องไม่ดีงามซึ่งเกิดขึ้นในสงฆ์ ถ้าเป็นการละเมิดบทบัญญัติ ภิกษุผู้ละเมิดย่อมต้องอาบัติตามสมควรแก่กรณีแน่นอน โดยไม่ต้องมีใครมากล่าวโทษแต่ในบางกรณีหลังจากที่ปรับโทษแล้ว ยังต้องมีกระบวนการที่คณะสงฆ์เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การอยู่ปริวาสกรรม – การประพฤติมานัต เพื่อออกจากอาบัติสังฆาทิเสส , หรือกรณีที่อาจจะมีเหตุก่อผลกระทบต่อมหาชนเป็นอันมาก จึงต้องมีวิธีการลงโทษเพื่อแก้ไขทิฏฐิพฤติกรรมของภิกษุที่เกิดเพราะเหตุมรรคหรือปฏิปทา, หรือกรณีมีอธิกรณ์เกิดขึ้น จึงมีวิธีระงับอธิกรณ์ หล่านี้ล้วนเป็นมาตราการที่จะจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในสงฆ์ ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาของสงฆ์อย่างเด็ดขาด และเพื่อประคับประคอมศรัทธาของชาวบ้านผู้ถวายความอุปถัมภ์

จุลวรรค ภาค 2 พระวินัยปิฎก เล่ม 7 นี้ เป็นเรื่องข้อห้าม และข้ออนุญาตเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อร่างกายและอื่น ๆ แบ่งเป็น 8 ขันธ์ คือ ขุททกวัตถุขันธ์ : ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด เช่น ข้อปฏิบัติในการอาบน้ำ การดูมหรสพ บาตร เครื่องใช้โลหะ, เสนาสนขันธ์ : ว่าด้วยเรื่องที่อยู่ เครื่องใช้ ตลอดจนการก่อสร้าง, สังฆเภทขันธ์ : ว่าด้วยการทำสงฆ์ให้แตกกัน, วัตตขันธ์ : ว่าด้วยวัตรข้อปฏิบัติ 14 เรื่อง เช่นการปฏิบัติต่ออาคันตุกะ อุปัชฌาย์ ศิษย์ เป็นต้น, ปาฏิโมกขัฏฐปนขันธ์ : การงดสวดปาติโมกข์ พร้อมเงื่อนไข, ภิกขุนีขันธ์ : กล่าวถึงความเป็นมา ข้อปฏิบัติ ข้อห้าม ข้ออนุญาตต่าง ๆ เกี่ยวกับนางภิกษุณี, ปัญจสติกขันธ์ : ว่าด้วยเหตุการณ์หลังพุทธปรินิพพานถึงทำสังคายนาครั้งที่ 1 ของพระอรหันต์ 500 รูป, สัตตสติกขันธ์ : ว่าด้วยมูลเหตุ และการดำเนินการในการทำสังคายนาครั้งที่ 2 ของพระอรหันต์ 700 รูป.

5. คัมภีร์ปริวาร พระวินัยปิฎก เล่ม 8 นี้เป็นคัมภีร์ประกอบหรือคู่มือ บรรจุคำถามตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัยตั้งแต่ เล่ม 1 – 7 เป็นการประมวลเนื้อหาที่สำคัญต่าง ๆ มากล่าวไว้ มาจัดเป็นหัวข้อ
อนึ่ง การรวบรวมประมวลพระพุทธบัญญัติอริยวินัย จากพระไตรปิฎก เล่มนี้ เป็นการสรุปย่อรวบรวมให้กระทัดรัดเข้าใจง่าย รักษาใจความหรือยกพุทธพจน์โดยตรงในบางตอน เพื่อให้เหมาะสมกับผู้สนใจใคร่ศึกษาสามารถศึกษานำไปปฏิบัติฝึกหัดขัดเกลาตนเอง และเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นกระทั่งสังคม ดังกล่าวไว้แล้ว โดยมีจุดประสงค์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความสนใจ ที่จะศึกษาจากพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกโดยตรง นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดในการจัดทำหลายประการ เช่น พยายามจะให้มีขนาดของหนังสือไม่หนาจนเกินไป เป็นต้น
จึงได้จัดหมวดหมู่ โดยอ้างอิงการจัดหมวดหมู่ตามพระไตรปิฎกดังแสดงในแผนผังสารบาญ และมีรายละเอียดการจัดรวบรวมพิเศษอื่น ๆ ที่ควรทราบดังนี้ :-

รายละเอียดการจัดเรียงพิเศษอื่นๆ ที่ควรทราบของหนังสือเล่มนี้ 

1. รวบรวมอริยวินัยเฉพาะส่วนภิกษุสงฆ์ทั้งหมด แต่มิได้เรียบเรียงในส่วนสิกขาบทภิกษุณีสงฆ์ ที่มาในพระวินัยปิฎก เล่ม 3 (เพื่อให้มีขนาดไม่หนามากจนเกินไป)

2. ในส่วนวินัยที่มาในพระปาติโมกข์ ในทุกสิกขาบท พระไตรปิฎกจะลำดับเนื้่อหาของแต่ละสิกขาบทในลักษณะเดียวกันคือ

1. ต้นบัญญัติ เล่าเรื่องต้นเหตุ ที่ทำให้ทรงบัญญัติสิกขาบท

2. พระบัญญัติ คือสิกขาบทที่ทรงบัญญัติ และอนุบัญญัติ คือการบัญญัติเพิ่มเติมข้อความให้กับสิกขาบทนั้น เพื่อความรอบคอบรัดกุม

3. สิกขาบทวิภังค์และบทภาชนีย์ คำว่าสิกขาบทวิภังค์ หมายถึง การจำแนกความสิกขาบท คำว่า บทภาชนีย์ แปลว่าการจำแนกแยกแยะความหมายของบท เป็นการนำเอาคำในสิกขาบทวิภังค์มาขยายความเพิ่มเติมอีก

4. อนาบัติ ว่าด้วยข้อยกเว้นสำหรับผู้ล่วงละเมิดสิกขาบทโดยไม่ต้องอาบัติ

5. วินีตวัตถุ ว่าด้วยเรื่องต่างๆ ของภิกษุผู้กระทำการบางอย่างอันอยู่ในขอบข่ายของสิกขาบทนั้นๆ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงไต่สวนเอง แล้วทรงวินิจฉัยชี้ขาดไว้

ส่วนในหนังสือนี้จะจัดเรียงโดย

1. นำพระบัญญัติที่รวมอนุบัญญัติแล้วไ้ว้เป็นอันดับแรก เพื่อสะดวกแก่ผู้ศึกษาที่จะนำไปปฏิบัติ จะได้ทราบโดยทันทีว่าสิกขาบทนั้น ๆ ทรงบัญญัติไว้อย่างไร โดยยกพระพุทธพจน์โดยตรงมาเน้นข้อความในเครื่องหมายคำพูดไว้

2 . นำวิภังค์หรือบทภาชนีย์ เฉพาะในบางส่วนที่เห็นว่าคำนั้นผู้ศึกษาอาจจะเข้าใจได้ไม่ชัดเจน เพื่อให้ทราบถึงคำอธิบายที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกโดยตรง ( ในส่วนนี้สันนิฐานว่ามีทั้งที่เป็นพระพุทธาธิบายโดยตรงและบางส่วนเป็นการอธิบายที่อยู่ในชั้นพระสังคาหกาจารย์ผู้รวบรวมพระไตรปิฎก)

3. ตามด้วยอนาบัติ ลักษณะที่ไม่ต้องอาบัิติ เพื่อให้ผู้ศึกษาทราบลักษณะยกเว้นไม่ต้องอาบัตินั้นๆ(สันนิฐานว่ารวบรวมไว้ในชั้นพระสังคาหกาจารย์)ที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกโดยตรงในทุกสิขาบท ยกเว้นเสขิยะ

4. ต่อด้วยย่อความเล่าเรื่องต้นบัญญัติ ทีี่มีมาในพระไตรปิฎก เพื่อให้หนังสือไม่หนาเกินไป แต่ยังคงใจความไว้เพื่อให้ทราบที่มา อันจะทำให้ทราบเหตุผล เจตนารมณ์พระพุทธประสงค์ในการบัญญัติสิกขาบทนั้น ๆ(วินีตวัตถุมิได้ย่อไว้ผู้สนใจพึงศึกษาจากพระไตรปิฎก)

3. ในส่วนสิกขาบทนอกพระปาติโมกข์ หรืออภิสมาจาริกสิกขาในคัมภีร์มหาวรรค และจุลวรรค (พระวินัยปิฎกเล่ม 4, 5, 6, 7) นั้น คงเป็นการย่อใจความเรียงตามการจัดในพระไตรปิฎก แต่จะเน้นข้อความหรือยกพระพุทธพจน์ไว้ในส่วนที่น่าสนใจเป็นพิเศษ

(หมายเหตุ ในพระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ อํ. ติก. 20 / 297 /524 มีพระพุทธดำรัสตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิกขาบทร้อยห้าสิบสิกขาบทนี้ย่อมมาสู่อุเทส (การยกขึ้นแสดงในท่ามกลางสงฆ์) ทุกกึ่งเดือนตามลำดับอันกุลบุตร ผู้ปรารถนาประโยชน์พากันศึกษาอยู่ในสิกขาบทเหล่านั้นฯ” จากพระสูตรนี้แสดงให้ทราบว่า ในครั้งพุทธกาลสิกขาบท ที่มาในพระปาติโมกข์หรือที่เรียกว่าอาทิพรหมจริยกาสิกขาบท มี 150 ข้อ คือไม่รวมอนิยต 2 และเสขิยวัตร 75 มิใช่มี 227 ตามที่เข้าใจกันในบัดนี้ ดังนั้น อนิยต และ เสขิยวัตร 75 มิใช่มี 227 ตามที่เข้าใจกันในบัดนี้ ดังนั้น อนิยต และ เสขิยวัตร ควรจะจัดอยู่ในภาคอภิสมาจาริกสิกขาบท แต่เนื่องจากพระไตรปิฎกปัจจุบันได้จัดอนิยตและเสขิยวัตรไว้ในคัมภีรฺ์ ภิกขุวิภังค์ภาค 1 และภาค 2 ตามลำดับ การจัดของหนังสือเล่นนี้อนุวัตรตามพระไตรปิฎก จึงได้จัดไว้ตามนั้น).

4. ได้รวบรวมพระวินัยที่มาในพระไตรปิฎกเล่มอื่น และบางส่วนในคัมภีร์ปริวาร (พระวินัยปิฎก เล่ม 8 ) ที่น่าสนใจมารวมไว้เป็นหมวดหนึ่ง โดยระบุที่มาจากพระไตรปิฎกไว้แล้ว ส่วนตอนอื่นๆข้างต้นนั้น เนื่องจากมีการจัดเรียงตามพระไตรปิฎก เพื่อสะดวกในการค้นหาอยู่แล้วจึงมิได้ระบุที่มาไว้.

5. ได้รวบรวมคำบาลีที่ใช้บ่อย เช่น คำพินทุอธิษฐาน คำเสียสละ ปลงอาบัติ มอบฉันทะ อุโบสถ กรมวาจาสมมติเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ และ กรรมวาจาสังฆกรรมต่าง ๆ ที่ใช้บ่อย ไว้ในภาคผนวกเพื่อสะดวกในการใช้ด้วย