โน้ตเสียงปาฬิ (Pāļi Notation)
สัชฌายะ คือ การออกเสียงปาฬิภาสา (บาลี) ในพระไตรปิฎก
ที่จัดพิมพ์ด้วย "สัททสัญลักษณ์" (Phonetic Symbol) ในทางภาษาศาสตร์
ได้แก่ สัททะอักขะระ (Phonetic Alphabet)
และในทางดุริยางคศาสตร์ ได้แก่ โน้ตเสียงปาฬิ (Pāļi Notation)
ที่จัดพิมพ์ด้วย "สัททสัญลักษณ์" (Phonetic Symbol) ในทางภาษาศาสตร์
ได้แก่ สัททะอักขะระ (Phonetic Alphabet)
และในทางดุริยางคศาสตร์ ได้แก่ โน้ตเสียงปาฬิ (Pāļi Notation)
ชุดโน้ตเสียงปาฬิดังกล่าวเป็นงานสร้างสรรค์นวัตกรรมการเขียนเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกเป็นครั้งแรก โดยอ้างอิงจังหวะโน้ตเสียงละหุและเสียงคะรุ กับกฎไวยากรณ์กัจจายะนะ ซึ่งมุ่งเน้นการเปล่งเสียงตามหลักภาษาในตระกูลอินโด-อารยัน ซึ่งเป็นภาษาที่เป็นระบบเสียงสามัญ หรือเสียงที่ไม่มีวรรณยุกต์สูงต่ำ
นอกจากนี้โน้ตเสียงปาฬิ ยังกล่าวได้ว่ามีความแม่นตรงในการเรียงพิมพ์เสียงปาฬิในพระไตรปิฎกอย่างสูงสุด เพราะการแบ่งพยางค์ในฉบับสัชฌายะโน้ตเสียงปาฬิชุดนี้ เป็นจัดทำด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามสิทธิบัตรการแบ่งพยางค์อัตโนมัติในระบบดิจิทัล เลขที่ 46390 พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นสิทธิบัตรที่ว่าด้วยเรื่องพระไตรปิฎกดิจิทัลฉบับแรกของโลก สร้างสรรค์โดยมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น