วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2561

วชิราวุธวิทยาลัย สถาบันการศึกษาที่ได้รับพระราชทานพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ




วชิราวุธวิทยาลัย เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่ได้รับพระราชทาน
พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ชุด ส.ก. ชุด 80 เล่ม ชุดปฐมฤกษ์ 
เป็นพระธัมมทานในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร 
พ.ศ. 2560






ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย เชิญผู้แทนมูลนิธิพระไตรปิฎกสากลร่วมฝึกซ้อมการออกเสียงสัชฌายะ
ในพระไตรปิฎกสัชฌายะ ชุด ส.ก. (โน้ตเสียงปาฬิ) ซึ่งจัดพิมพ์โดยมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล


โน้ตเสียงปาฬิ (Pāļi Notation)


โน้ตเสียงปาฬิ (Pāļi Notation)



สัชฌายะ คือ การออกเสียงปาฬิภาสา (บาลี) ในพระไตรปิฎก
ที่จัดพิมพ์ด้วย "สัททสัญลักษณ์" (Phonetic Symbol) ในทางภาษาศาสตร์
ได้แก่ สัททะอักขะระ (Phonetic Alphabet)
และในทางดุริยางคศาสตร์ ได้แก่ โน้ตเสียงปาฬิ (Pāļi Notation)
ชุดโน้ตเสียงปาฬิดังกล่าวเป็นงานสร้างสรรค์นวัตกรรมการเขียนเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกเป็นครั้งแรก โดยอ้างอิงจังหวะโน้ตเสียงละหุและเสียงคะรุ กับกฎไวยากรณ์กัจจายะนะ ซึ่งมุ่งเน้นการเปล่งเสียงตามหลักภาษาในตระกูลอินโด-อารยัน ซึ่งเป็นภาษาที่เป็นระบบเสียงสามัญ หรือเสียงที่ไม่มีวรรณยุกต์สูงต่ำ
นอกจากนี้โน้ตเสียงปาฬิ ยังกล่าวได้ว่ามีความแม่นตรงในการเรียงพิมพ์เสียงปาฬิในพระไตรปิฎกอย่างสูงสุด เพราะการแบ่งพยางค์ในฉบับสัชฌายะโน้ตเสียงปาฬิชุดนี้ เป็นจัดทำด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามสิทธิบัตรการแบ่งพยางค์อัตโนมัติในระบบดิจิทัล เลขที่ 46390 พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นสิทธิบัตรที่ว่าด้วยเรื่องพระไตรปิฎกดิจิทัลฉบับแรกของโลก สร้างสรรค์โดยมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล



การออกเสียงสัชฌายะ (Sajjhāya Recitation)

Sajjhāya Streaming







สัชฌายะ หรือ การออกเสียงสัชฌายะ (Sajjhāya Recitation) คือ การออกเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกที่แม่น
ตรงกับกฎไวยากรณ์กัจจายะนะ ซึ่งเป็นคัมภีร์ไวยากรณ์ทางเสียงที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนาเถรวาท..

ปัจจุบัน พ.ศ. 2559 ได้มีการจัดพิมพ์เป็นฉบับมาตรฐาน ชุด ภ.ป.ร. (ต้นฉบับปาฬิภาสา 40 เล่ม) และชุด ส.ก. (โน้ตเสียงปาฬิ 40 เล่ม) รวมชุด 80 เล่ม โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรากูร ทรงมีพระมหาพระกรุณาเป็นประธานการสร้างเป็นพุทธบูชา และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9

พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ จัดพิมพ์โดยโครงการพระไตรปิฎกสากล (พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน) อันเป็นการจัดพิมพ์ตามสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญาเลขที่ 46390 เรื่อง การแบ่งพยางค์อัตโนมัติในระบบดิจิทัล ซึ่งเที่ยงตรง ปราศจากข้อผิดพลาด และสามารถเผยแผ่ในสื่ออิเลคทรอนิกส์ต่างๆ ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น แทปเล็ตสัชฌายะ เป็นต้น

เพื่อน้อมรำลึกในพระกรุณาคุณสมเด็จพระญาณสังวรฯ ผู้ทรงรับโครงการพระไตรปิฎกสากลไว้ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2542

ดังนั้นในการจัดพระราชทานพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ชุด ส.ก. ชุด 80 เล่ม ชุดปฐมฤกษ์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลจัดพระราชทานฉบับสัชฌายะชุดดังกล่าว แก่พระครูสังฆรักษ์คมสัน ชนาสโภ เจ้าอาวาสวัดนาถกรณธรรม (นาถะกะระณะธรรม) จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพระอารามสุดท้ายที่ได้รับประทานนามเป็นชื่อพระอารามว่าแห่งนี้ว่า "นาถกรณธรรม" จากเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวรฯ

ฉบับสัชฌายะ คือ พระไตรปิฎกปาฬิภาสา ฉบับเพื่อการอ่านออกเสียงตามกฎไวยากรณ์กัจจายะนะ จัดพิมพ์โดยมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล


การจัดพระราชทานเป็นพระธัมม์ทานในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นองค์พระบรมราชูปถัมภ์ และองค์ประธานการสร้างฉบับสัชฌายะ :

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เวลา 09.00 น. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จลง ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เพื่อทรงรับพระราชทานพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ชุด ส.ก. รวมเป็นชุด 80 เล่ม ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล โดยท่านผู้หญิงวราพรปราโมช ณ อยุธยา เป็นผู้อัญเชิญพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุดพระราชทานจำนวน 1 ชุดจาก 10 ชุดปฐมฤกษ์ มาน้อมถวายแด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม สถาบันซึ่งได้สนับสนุนโครงการพระไตรปิฎกสากลมาตั้งแต่ พ.ศ. 2542 และในวันนี้ได้จัดพระราชทานแก่อีก 6 สถาบันที่เข้าร่วมพิธีด้วย อาทิ ราชบัณฑิตยสภา กระทรวงพาณิชย์ และวชิราวุธวิทยาลัย




ข้อมูล

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2561

พระราชทานพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ชุด ส.ก.

พระเจ้าอยู่มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร 
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ชุด ส.ก. 
แก่มูลนิธิ 100 พระชันษา สมเด็จพระญาณสังวราณุสรณ์ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ 
 ณ อาคารอาทิตยาทร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล








คำกล่าว 
ท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช ณ อยุธยา
ประธานมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล




ท่านประธานมูลนิธิ 100 พระชันษา สมเด็จพระญาณสังวรานุสรณ์ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์พิทยา จารุพูนผล และท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน :



ในนามมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ขอน้อมถวายอนุโมทนาสาธุการที่สมเด็จพระเจ้าอยู่มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ชุด ส.ก. แก่มูลนิธิ 100 พระชันษา สมเด็จพระญาณสังวราณุสรณ์ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ในครั้งนี้ และขอแสดงความยินดีที่มูลนิธิ 100 พระชันษาฯ ได้ริเริ่มการศึกษาพระไตรปิฎกเสียงสัชฌายะ ในทางวิชาการในวาระของการประดิษฐานในวันนี้
ในฐานะที่มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลเป็นผู้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกชุด ภ.ป.ร. และ ส.ก. ชุดนี้ ขอกล่าวความเป็นมาสั้นๆ 4 ประการ ดังต่อไปนี้
1. ฉบับสัชฌายะจัดพิมพ์ในโครงการพระไตรปิฎกสากล ซึ่งถือกำเนิดจากพระบัญชาในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ผู้ที่ทรงเห็นความสำคัญของการจัดพิมพ์ฉบับสากล เป็นอักษรโรมัน ก็ด้วยเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ พระองค์นี้ ทรงเป็นผู้แทนคณะสงฆ์ไทยไปร่วมประชุมสังคายนาในระดับนานาชาติ ณ กรุงย่างกุ้ง พ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญในพระพุทธศาสนาที่แทบจะไม่มีผู้ใดรู้กันในปัจจุบัน ดังนั้นการที่มูลนิธิ 100 พระชันษาฯ ซึ่งอยู่ในพระสังฆราชูปถัมภ์ในเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ ซึ่งได้ร่วมสืบทอดผลงานตามพระบัญชาในวันนี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
2. ฉบับสัชฌายะ หรือ พระไตรปิฎกเพื่อการออกเสียงชุดนี้ เป็นการดำเนินตามหลักการออกเสียงในพระวินัยปิฎก ที่เรียกว่า พยัญชนะกุสะละ 10 ประการ ดังนั้น การออกเสียงสัชฌายะจึงมิใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นการมุ่งเน้นการออกเสียงตามหลักไวยากรณ์ที่เป็นสากล ปัจจุบันพิสูจน์ได้ด้วยอักขรวิธีสยามปาฬิ ในพระไตรปิฎกฉบับ จ.ป.ร. พุทธศักราช 2436



3. ฉบับสัชฌายะ เป็นผลงานทางสหวิชาการที่บูรณาการต่อยอดจากการพิมพ์พระไตรปิฎกชุดอักษรต่างๆ โดยสร้างสรรค์เป็นชุด โน้ตเสียงปาฬิ ซึ่งสามารถแสดงจังหวะ และการออกเสียงปาฬิได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ตลอดจนมุ่งเน้นการออกเสียงในพระไตรปิฎกโดยไม่มีเสียงวรรณยุกต์สูงต่ำ
4. ฉบับสัชฌายะ เป็นผลงานในทางวิชาการและเทคโนโลยีทางเสียง จัดทำเพื่อให้สามารถเขียนและบันทึกเสียงสังคายนาในระบบดิจิทัลให้แม่นตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ต่างจากการสวดมนต์ในอดีต ซึ่งมุ่งหวังการออกเสียงเร็วโดยไม่คำนึงถึงเสียงละหุ และเสียงคะรุ หรือที่เรียกกันว่า ออกเสียงสวดตามประเพณี หรือ Traditional Chanting โดยสัชฌายะมุ่งเน้นเสียงละหุและเสียงคะรุ เรียกว่า International Sajjhāya Recitation ซึ่งเป็นการออกเสียงสากล
ในวโรกาสคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พุทธศักราช 2561 ขอน้อมเกล้าฯ ถวายชัยมงคล และจัดงานฉลองพระราชศรัทธาที่ได้พระราชทานภาพพระนามาภิไธย ส.ก. เพื่อตีพิมพ์บนพระไตรปิฎก โน้ตเสียงปาฬิ ชุด ส.ก. ชุดนี้ และขอเปิดงานการประดิษฐานพระไตรปิฎก
สัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. ชุด ส.ก. ณ บัดนี้.





มูลนิธิพระไตรปิฏก