พระประวัติสมเด็จพระสังฆราช
วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556
พระประวัติสมเด็จพระสังฆราช
พระประวัติสมเด็จพระสังฆราช
พระประวัติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน คชวัตร)
พระประวัติ
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
( เจริญ สุวฑฺฒโน คชวัตร)
เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สุวัฑฒนมหาเถระ) มีพระนามเดิมวา่ เจริญ นามสกุล คชวัตร ทรงมีพระชาติภูมิ ณ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖ ทรงบรรพชาเป็ นสามเณรเมื่อพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ณ วัดเทวสังฆาราม กาญจนบุรี แล้วเข้ามาอยู่ศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จนพระชนมายุครบอุปสมบท และทรงอุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๗๖ โดยมี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตลอดมาจนกระทั้งสอบได้เป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค เมื่อ พุทธศักราช ๒๔๘๔
เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงดำรงสมณศักดิ์ มาโดยลำดับดังนี้ ทรง
เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ พระราชาคณะชั้นราช และพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระโศภณคณาภรณ์ ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวราภรณ์ ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้า้คณะรองที่ พระสาสนโสภณ ทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร และทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราช ในราชทินนามที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๒ นับเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ทรงเป็นผใู้คร่ในการศึกษา ทรงมีพระอัธยาศัยใฝ่ รู้ใฝ่เรียนมาต้งัแต่ทรงเป็นพระเปรียญ โดยเฉพาะในด้านภาษา ทรงศึกษาภาษาต่าง ๆ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน จีน และ สันสกฤต จนสามารถใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี จา้กพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า้ กรมหลวง วชิรญาณวงศ์ พระอุปัชฌายข์องพระองค์ทรงเห็นวา่ จะเพลินในการศึกษามากไป วันหนึ่งทรงเตือนวา่ ควรทำกรรมฐานเสียบ้าง เป็นเหตุให้พระองคทรงเริ่มทางกรรมฐานมาแต่บัดนั้นและตลอดมาอย่า่งต่อเนื่อง จึงทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงภูมิธรรมทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติ
..ทรงรอบรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาองักฤษเป็นอยา่ งดี จึงทรงศึกษาหาความรู้
สมยัใหม่ดว้ยการอ่านหนงัสือภาษาองักฤษ ท้งัทางคดีโลกและคดีธรรม เป็ นเหตุให้ทรงมีทัศนะกว้างขวาง
ทนั ต่อเหตุการณ์บา้นเมือง ซ่ึงเป็นประโยชน์ต่อการสั่งสอนและเผยแผพ่ ระพุทธศาสนาเป็นอยา่ งมาก เป็ น
เหตุใหท้ รงนิพนธ์หนงัสือทางพระพุทธศาสนาไดอ้ยา่ งสมสมยั เหมาะแก่บุคคลและสถานการณ์ในยุค
ปัจจุบัน และทรงสั่งสอนพระพุทธศาสนาท้งัแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ในด้านการศึกษา ได้ทรงมีพระ
ดาริทางการศึกษาที่กว้างไกล ทรงมีส่วนร่วมในการก่อต้งัมหาวทิยาลยัพระพุทธศาสนาแห่งแรกของไทย คือ
มหาวทิยาลยัมหามกุฏราชวทิยาลยัมาแต่ตน้ ทรงริเริ่มใหม้ีสานกัฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศข้ึน
เป็นคร้ังแรก เพื่อฝึกอบรมพระธรรมทูตไทยที่จะไปปฏิบตัิศาสนกิจในต่างประเทศ
ทรงเป็นพระมหาเถระไทยรูปแรกที่ไดด้าเนินงานพระธรรมทูตในต่างประเทศอยา่ งเป็นรูปธรรม โดยเริ่มจาก
ทรงเป็นประธานกรรมการอานวยการสานกัฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศเป็ นรูปแรก เสด็จไปเป็ น
ประธานสงฆใ์นพิธีเปิดวดัไทยแห่งแรกในทวปียุโรป คือวัดพุทธปทีป ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ทรงนาพระพุทธศาสนาเถรวาทไปสู่ทวปีออสเตรเลียเป็นคร้ังแรก โดยการสร้างวดัพุทธรังษีข้ึน ณ นคร
ซิดนีย์ ทรงใหก้าเนิดคณะสงฆเ์ถรวาทข้ึนในประเทศอินโดนีเซีย ทรงช่วยฟ้ืนฟูพระพุทธศาสนาเถรวาทใน
ประเทศเนปาล โดยเสด็จไปใหก้ารบรรพชาแก่ศากยะกุลบุตรในประเทศเนปาลเป็นคร้ังแรก ทาให้ประเพณี
การบวชฟ้ืนตวัข้ึนอีกคร้ังหน่ึงในเนปาลยคุ ปัจจุบนั ทรงเจริญศาสนไมตรีกบัองคด์ าไล ลามะ กระทงั่ เป็นที่
ทรงคุ้นเคยและได้วสิาสะกนั หลายคร้ัง และทรงเป็นพระประมุขแห่งศาสนจกัรพระองคแ์รกที่ไดร้ับทูลเชิญ
ใหเ้สด็จเยอืนสาธารณรัฐประชาชนจีนอยา่ งเป็นทางการในประวตัิศาสตร์จีน
เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงปฏิบตัิพระกรณียกิจท้งัภายในประเทศ
และต่างประเทศเป็นเอนกประการ ทรงเป็ นนักวิชาการและนักวิเคราะห์ธรรมตามหลักการของ
พระพุทธศาสนา ที่เรียกวา่ ธัมมวิจยะ หรือธัมมวิจัย เพื่อแสดงใหเ้ห็นวา่ พุทธธรรมน้นั สามารถประยกุ ตใ์ช้
กบักิจกรรมของชีวติไดท้ ุกระดบั ต้งัแต่ระดบั พ้ืนฐานไปจนถึงระดบั สูงสุด ทรงมีผลงานดา้นพระนิพนธ์ท้งัที่
เป็ นภาษาไทยและภาษาองักฤษจานวนกวา่ ๑๐๐ เรื่อง ประกอบด้วยพระนิพนธ์แสดงคาสอนทาง
พระพุทธศาสนาท้งัระดบั ตน้ ระดับกลาง และระดับสูง รวมถึงความเรียงเชิงศาสนคดีอีกจานวนมาก ซึ่งล้วน
มีคุณค่าควรแก่การศึกษา สถาบนัการศึกษาของชาติหลายแห่งตระหนกัถึงพระปรีชาสามารถและคุณค่าแห่ง
งานพระนิพนธ์ ตลอดถึงพระกรณียกิจที่ทรงปฏิบตัิ จึงไดท้ ูลถวายปริญญาดุษฎีบณั ฑิตกิตติมศกัด์ิเป็นการ
เทิดพระเกียรติหลายสาขา
นอกจากพระกรณียกิจตามหนา้ที่ตาแหน่งแลว้ เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จ
พระสังฆราช ยังได้ทรงปฏิบัติหน้าที่พิเศษ อนั มีความสาคญั ยงิ่ อีกหลายวาระ กล่าวคือ ทรงเป็ นพระอภิบาล
ในพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจา้อยหู่ วั รัชกาลปัจจุบัน เมื่อคร้ังเสด็จออกทรงพระผนวช เมื่อพุทธศักราช
๒๔๙๙ พร้อมท้งัทรงถวายความรู้ในพระธรรมวินยัตลอดระยะเวลาแห่งการทรงพระผนวช ทรงเป็ นพระราช
กรรมวาจาจารย์ ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อคร้ังเสด็จ
ออกทรงพระผนวชเป็ นพระภิกษุ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๑
เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงดารงตาแหน่งหนา้ที่สาคญั ทางการคณะ
สงฆใ์นดา้นต่าง ๆ มาเป็ นลาดับ เป็นเหตุใหท้ รงปฏิบตัิพระกรณียกิจเป็นประโยชน์ต่อพระศาสนา
ประเทศชาติ และประชาชน เป็ นเอนกประการ นบัไดว้า่ ทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงเพียบพร้อมดว้ยอตั ต
สมบัติและปรหิตปฏิบัติ และทรงเป็ นครุฐานียบุคคลของชาติ ท้งัในดา้นพุทธจกัรและอาณาจกัร
เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็ นที่เคารพสักการะตลอดไปถึง
พุทธศาสนิกชนในนานาประเทศ ดว้ยเหตุน้ี ทางรัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา จึงได้ทูลถวายตา
แหน่ง อภิธชมหารัฐคุรุ อนั เป็นสมณศกัด์ิสูงสุดแห่งคณะสงฆเ์มียนมา และที่ประชุมผนู้ าสูงสุดแห่งพุทธ
ศาสนาโลก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๕ ไดท้ ูลถวายตาแหน่งผนู้ าสูงสุดแห่งพระพุทธศาสนาโลก
เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สิ้นพระชนมเ์มื่อวนั พฤหสั บดีที่ ๒๔ ตุลาคม
๒๕๕๖ สิริพระชนมายุ ๑๐๐ พรรษา ๒๑ วัน ณ อาคารวชิรญาณสามัคคีพยาบาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
สภากาชาดไทย
วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ประกาศ ไว้ทุกข์ในพระราชสำนัก 30 วัน
ประกาศ
ไว้ทุกข์ในพระราชสำนัก จาก 15 วัน เป็น 30 วัน
ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2556 ถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2556
เลขาธิการ พระราชวัง รับพระบรมราชโองการฯ ให้ประกาศว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฒโน) สิ้นพระชนม์ เนื่องจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2556 เวลา 19.30 น.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วยความเศร้าสลดพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไว้ทุกข์ในพระราชสำนัก จาก 15 วัน เป็น 30 วัน นับตั้งแต่วันศุกร์ ที่ 25 ตุลาคม 2556 ถึงวันเสาร์ ที่ 23 พฤศจิกายน 2556 และโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระศพไว้ ณ พระตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร และถวายพระเกียรติยศตามราชประเพณีทุกประการ
สำนักพระราชวัง
วันที่ 25 ตุลาคม พุทธศักราช 2556
วัดบวรนิเวศวิหาร เปิดให้ประชาชนเข้าสักการะพระศพสมเด็จพระสังฆราช ทุกวัน
วัดบวรนิเวศวิหาร
เปิดให้พุทธศาสนิกชนเข้าถวายสักการะพระศพ และฟังพระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรมพระศพได้ทุกวัน ซึ่งหลังจากการบำเพ็ญพระราชกุศลครบ 15 วันแล้ว จะเปิดให้หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน บริษัท ห้างร้าน ร่วมเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมได้ทุกวัน
สมเด็จ พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชยาวนานกว่าสมเด็จพระสังฆราชพระองค์อื่น ๆ ในอดีตที่ผ่านมา ถึง 23 ปี และทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่ทรงมีพระชันษายืนยาวที่สุดในประวัติคณะสงฆ์ไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับพระศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ และให้ถวายพระเกียรติยศตามราชประเพณี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีพระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรมพระศพ ประจำทั้งกลางวันกลางคืน รับพระราชทานฉันเช้า 8 รูป เพล 4 รูป มีกำหนด 7 วันซึ่งทางวัดบวรนิเวศวิหารได้เปิดให้พุทธศาสนิกชนเข้าถวายสักการะพระศพ และฟังพระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรมพระศพได้ทุกวัน หลังจากการบำเพ็ญพระราชกุศลครบ 15 วันแล้ว จะเปิดให้หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน บริษัท ห้างร้าน ร่วมเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมได้ทุกวัน สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานอำนวยการจัดงานบำเพ็ญพระกุศลวัดบวรนิเวศวิหาร
วันเสาร์ ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556
วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556
พิธีเคลื่อนพระศพ สมเด็จพระสังฆราชฯ
พิธีเคลื่อนพระศพ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร
credit ภาพ : อักษรชนนี
: วัดบวรนิเวศวิหาร
: วัดบวรนิเวศวิหาร
วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556
แถลงการณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556
Celebration of the 100 Birthday Anniversary of His Holiness Somdet Phra Nyanasamvara
วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ประทานพระไตรปิฎกฉบับสากล อักษรโรมัน
6 มีนาคม 2550 เวลา 17.00 น.
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์ประธานกิตติมศักดิ์การป ระดิษฐานพระไตรปิฎกในนานาปร ะเทศ ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา มาประทานพระไตรปิฎกฉบับสากล อักษรโรมัน 3 ชุด แก่นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่ างประเทศ ที่ห้องวิเทศสโมสร เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานต่อ ไปที่สมาคมมหาโพธิ์แห่งอินเ ดีย สมาคมพุทธศาสนาเถรวาทแห่งญี ่ปุ่น และมหาวิทยาลัยลุนด์แห่งสวี เดน
Credit : dhammasociety
วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556
Pāḷi bhāsā
คำอธิบาย และเอกสารประกอบของ อ.สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ.๙ อธิบายความว่า "ปาฬิ" ที่หมายถึงพระไตรปิฎก เป็นรูปการเขียนคำศัพท์ในภาษาไทยที่ถูกต้อง ตามรูปศัพท์ที่พบในพระไตรปิฎก อักษรขอม ใบลาน และในการพิมพ์พระไตรปิฎกอักษรสยาม ในสมัย ร.๕ และยังรวมถึงการเรียนการสอนของประเทศพม่าด้วยก็ใช้คำว่า "ปาฬิ"
อ.สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ.๙ ท่านประธานกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ม.ล. มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตั้งแต่ พ.ศ. 2543-2553 ท่านเป็นผู้วางนโยบายการตรวจทาน และการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกอักษรโรมัน ฉบับมหาสังคายนาสากลนานาชาติ พ.ศ. 2500 พิมพ์เป็นอักษรโรมัน โดยกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ในปี พ.ศ. 2548 ท่านเป็นหนึ่งในคณะผู้กราบทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินท์ เสด็จจาริกไปพระราชทานพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมันแก่ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยแห่งศรีลังกาเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม
พ.ศ. 2548
อาจารย์สิริฯ ได้เป็นต้นแบบในการบันทึกเสียงปาฬิ ในพระไตรปิฎกปาฬิอักษรโรมัน โดยดำเนินตามการศึกษาวิธีสวดสังวัธยายปาฬิที่ได้รับสืบทอดจากสมเด็จ พระวันรัต (เฮง เขมจารี) และพระพิมลธรรม
(ช้อย ฐานทตฺตเถร) ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤดิ์ ซึ่งทั้งสองท่านได้รับการสืบทอดมาจากสมเด็จพระวันรัต (ฑิต) ซึ่งเป็นพระราชาคณะมหานิกายองค์เดียวในการตรวจชำระพระไตรปิฎกปาฬิ อักษรสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 นอกจากนี้อาจารย์สิริฯ ยังได้เคยศึกษากับอาจารย์ปลั่ง บุญศิริ (ป.ธ.9) อาจารย์วิเชียร บำรุงผล (ป.ธ.9) และอาจารย์จำลอง อินทวัฒน์ (ป.ธ.3) อาจารย์ สิริฯ สอบผ่านเปรียญธรรม 9 ประโยคเป็นคนแรกในรัชกาลที่ 9 และเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านภาษาปาฬิ สามารถอ่านพระไตรปิฎกปาฬิ อักษรโรมัน อักษรขอม และอักษรพม่าได้เป็นอย่างดี ในปี พ.ศ. 2550 อาจารย์สิริฯ ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์์ทางปาฬิ เป็นคนแรก แห่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
อาจารย์สิริ เพ็ชรไชย ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ณ
โรงพยาบาลศิริราช
งานพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดสระเกศ ในวันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 16.30 น.
ในการนี้ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
โปรดให้ พันเอก สมนึก สีสังข์ เชิญดอกไม้จันทน์มาประทานด้วย
Master Siri Petchai, eminent Tipiṭaka scholar passed away on January 1, 2012.
Royal sponsored Cremation rite will be at Wat Saket in Bangkok.
งานพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดสระเกศ ในวันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 16.30 น.
ในการนี้ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
โปรดให้ พันเอก สมนึก สีสังข์ เชิญดอกไม้จันทน์มาประทานด้วย
Master Siri Petchai, eminent Tipiṭaka scholar passed away on January 1, 2012.
Royal sponsored Cremation rite will be at Wat Saket in Bangkok.
Credit : กองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค;
โครงการพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน;
มูลนิธิพระไตรปิฎก;
http://www.flickr.com/photos/dhammasociety/
Pāḷi as the language medium in the Tipiṭaka
Great
International Council Tipiṭaka Database,
The first of its kind in the world,
The
propagation of the World Tipiṭaka
Edition in the Roman Script
is simple and effective.
is simple and effective.
Maniratana Bunnag & Dhamma Society Fund
The
M.L. Maniratana Bunnag Dhamma Society Fund under the Patronage His
Holiness Somdet Phra Ñāṇasaṃvara the Supreme Patriarch of Thailand is a
charitable organisation in the Buddhist Theravāda Tradition, founded in
1997 by Thanpuying M.L. Maniratana BUNNAG (1923-2000), Lady-in-Waiting
to Her Majesty Queen Sirikit (1950-2000) and the Dhamma Society First
Chairperson
กองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค
ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก เป็นองค์กรกุศล ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2540
โดยท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค (หม่อมหลวงมณีรัตน์ สนิทวงศ์, พ.ศ.
2493-2543) นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ซึ่งในช่วงสุดท้ายของชีวิตได้มีโอกาสปฏิบัติธัมมะตามแนวมหาสติปัฏฐาน
ต่อมาเมื่อได้ฟังการบรรยายพระอภิธัมม์
จึงมีจิตศรัทธาจัดการบรรยายธัมมะตามหลักพระไตรปิฎก
ซึ่งได้จัดเป็นครั้งแรก เพื่อน้อมเกล้าฯ
ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ
สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540
โดยท่านผู้หญิงเป็นผู้ตั้งชื่อรายการว่า "สนทนาธรรมนำสุข"
และต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "สนทนาธัมม์นำสุข"
ซึ่งได้มีการจัดต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน.
กิจกรรมสำคัญของกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ คือการจัดพิมพ์พระไตรปิฎก
ภาษาปาฬิ อักษรโรมัน
ซึ่งได้ตรวจทานใหม่จากต้นฉบับการประชุมสังคายนานานาชาติ พ.ศ. 2500
การดำเนินงานได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2542 และจัดพิมพ์สำเร็จใน พ.ศ. 2548
โดยได้มอบเป็นพระไตรปิฎกสากลเป็นพระธัมมทานในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์ประธานกิตติมศักดิ์ เพื่อการศึกษาแก่สถาบันสำคัญในนานาประเทศ
ตามโอกาสและความเหมาะสม
พ.ศ. 2552 ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของโครงการพระไตรปิฎกสากล กองทุนฯ
ได้ร่วมจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ชุดพิเศษ 40 เล่ม และ
พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม : ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล ชุด 40 เล่ม
เพื่อน้อมถวายแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
องค์สังฆราชูปถัมภ์โครงการพระไตรปิฎกสากล พิธีบำเพ็ญกุศลได้จัดขึ้น ณ
วัดพระศรีรัตนศาสดารามเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สถาบันพระมหากษัตริย์พุทธมามกะ และในปีนี้ โครงการพระไตรปิฎกสากลได้จัดพิมพ์หนังสือ
"ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง" ชุด 40 เล่ม
มอบแก่วัดบวรนนิเวศวิหารในงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราช
ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 96 ปี
ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง
ภาษาปาฬิ อักษรโรมัน
เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพระไตรปิฎกสากล
อักษรโรมัน ซึ่งได้ดำเนินงานตั้งแต่ พ.ศ.
2542-ปัจจุบัน ในพ.ศ. 2552 เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ทรงเจริญพระชันษา 96 ปี
กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ
ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ
ผู้ดำเนินโครงการพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน
ได้จัดพิมพ์ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง (Tipitaka Studies Reference)ภาษาปาฬิอักษรโรมัน ชุด 40 เล่ม
ขึ้นเป็นพิเศษเพื่อมอบในงาน การประชุมวิชาการทางพระพุทธศาสนานานาชาติภาษาปาฬิ การประชุมครั้งนี้ถือเป็น "พุทธศาสนาในศตวรรษใหม่" เพราะภาษากลางของการประชุมจะอยู่ในภาษาบาลี (ปาฬิ) ภาษาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (แทนภาษาอังกฤษ) แสดงถึงความสำคัญของภาษาบาลี (ปาฬิ) เป็นการรักษาพระพุทธศาสนาเถรวาท สามารถแบ่งปันและเรียนรู้ การตีความและคำอธิบายของพระพุทธศาสนาเพื่อความเข้าใจที่กว้างขึ้น การจัดประชุมนานาชาติครั้งนี้ ถือเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 1 ตุลาคม
พ.ศ. 2552 (2009), วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
On this unprecedented auspicious occasion of the 96th birthday on the third day of October, 2009 the Executive Committee for the 96th Birthday Celebration of His Holiness Somdet Phra Nyanasamvara, Sangharaja of Kingdom of Thailand officially appointed by the Prime Minister of Thailand resolved to organize numerous activities as a part of celebration of this auspicious day. To name a few: nationwide religious ceremonies, biographical exhibitions, and international and national conferences in honour of His Holiness the Sangharaja.
On the part of international conference in honour, the main theme is ‘Buddhism in the new century.’ This conference will be an unprecedented Buddhist conference in Thailand because the lingua franca of the conference will be in Pali, the language of the Lord Buddha (instead of English!). This will not only show the importance of Pali language in preserving Theravada Buddhism, but it will serve as an international platform where Pali scholars can share and learn the interpretation and explanation of Buddhism for wider and right understanding.
The International Buddhist Conference, in Honour of His Holiness Somdet Phra Ñāṇasaṃvara, the Supreme Patriarch of the Kingdom of Thailand. 1 October B.E. 2552 (2009), Wat Bovornives Vihāra , Bangkok
World Tipiṭaka Project :
จดหมายเหตุดิจิทัลจากกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข
ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ
ผู้ดำเนินโครงการพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน
http://www.flickr.com/dhammasociety
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)